อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สบท. ติง 3G ทีโอที ต้องเพิ่มมิติคุ้มครองผู้บริโภค

สบท. ติง 3G ทีโอที ต้องเพิ่มมิติคุ้มครองผู้บริโภค

คณะ กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ติงบริการ 3G ของทีโอที มีหลายแง่ที่ยังไม่สอดคล้องกฎหมาย กทช. เสนอ 7 ประเด็นที่ควรกำกับดูแล ทั้งเรื่องแบบสัญญา พื้นที่บริการที่ครอบคลุม อัตราค่าบริการ และคุณภาพบริการ การลงทะเบียนและจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ ตลอดจนด้านความเป็นธรรมในการแข่งขัน โดยหนุนเรื่องการโรมมิ่งที่ไม่ผูกขาด และส่งเสริมผู้ให้บริการรายย่อยด้วย

กรณีการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ของ บมจ. ทีโอที ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2552 เป็นที่จับตามองของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้รวมถึงคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.) ที่ได้พิจารณาเรื่องนี้และนำเสนอความเห็นถึงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ (กทช.) โดยตั้งข้อสังเกตและแสดงความห่วงใยในหลายแง่มุมที่เกี่ยวกับมิติการคุ้มครอง ผู้บริโภคและความเป็นธรรมในการแข่งขัน

ในมิติการคุ้มครองผู้บริโภค ประเด็นสำคัญที่มีการติง คือเรื่องของแบบสัญญาให้บริการ ซึ่งตามกฎหมายมีข้อกำหนดว่า ผู้ให้บริการต้องจัดส่งแบบสัญญาให้ กทช. พิจารณาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน หากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องเสนอล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ในกรณีการให้บริการ 3G ของ บมจ. ทีโอที มีการจัดส่งแบบสัญญาให้ กทช. พิจารณาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 โดยแจ้งว่า ได้เคยส่งให้ กทช. พิจารณาแล้วแต่ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่า แบบสัญญาที่ว่าเคยส่งให้ก่อนนั้นเป็นแบบสัญญาของบริการประเภทเดียวกันหรือ ไม่

นอกจากนี้ในกรณีของผู้ให้บริการรายอื่นที่เป็น MVNO ซึ่งก็คือเป็นผู้ให้บริการที่ไม่มีระบบโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง ก็มีหน้าที่ต้องส่งแบบสัญญามาให้ กทช. พิจารณาเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันบางรายได้เปิดให้บริการแล้ว เช่น i-mobile และ IEC เป็นต้น

อีกเรื่องคืออัตราค่าบริการ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า ประโยชน์ของบริการระบบ 3G คือความสามารถในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูง จากข้อมูลของบริษัทพบว่า จะมีการเก็บค่าบริการตามปริมาณข้อมูลอยู่ที่ 0.20 – 1 บาท/MB ซึ่งเป็นอัตราที่ประหยัดกว่าอัตราทั่วไปของระบบเดิมที่มีการคิดประมาณ 0.12 บาท/KB

 “แต่ปัญหาของการคิดอัตราค่าบริการข้อมูลตามปริมาณข้อมูลคือ ผู้บริโภคจะประมาณการค่าใช้จ่ายหรือจำกัดการใช้งานได้ยาก ขณะที่การคิดค่าบริการตามระยะเวลาใช้งานทำได้ง่ายกว่า แต่บริการ 3G ของทีโอทียังไม่มีการคิดค่าบริการข้อมูลตามระยะเวลาใช้งาน ดังนั้น คบท. จึงเสนอแนะว่า ควรให้มีระบบการคิดค่าบริการทั้งสองแบบ เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค ในทำนองเดียวกัน เรื่องของพื้นที่ให้บริการที่ขณะนี้จำกัดเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ก็ควรมีการขยายให้ประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ได้มีโอกาสได้ใช้บริการด้วย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่นอก โครงข่าย รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น คนหูหนวก” น.ส.สารี อ๋องสมหวัง หนึ่งในกรรมการ คบท. ระบุ

ข้อน่าห่วงใยอีกประการหนึ่งในความเห็นของ คบท. คือ การที่บริการ 3G ของทีโอทีมีการจำกัดระยะเวลาการใช้งานการให้บริการระบบเติมเงิน เช่น เติม 50 บาทใช้งานได้ 5 วัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาฯ

นายชัยรัตน์ แสงอรุณ กรรมการ คบท. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายขยายความว่า “เรื่องนี้ ในกรณี บมจ. ทีโอทีอาจแย้งว่า สัญญาให้บริการเดิมได้รับการคุ้มครองตามบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว แต่กรณีบริการของ MVNO นั้น ไม่เคยมีสัญญาให้บริการเดิมมาก่อน การจำกัดระยะเวลาใช้งานจึงไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย”

ในความเห็นของ คบท. ยังมีผลกระทบที่ควรมีการคำนึงถึงอีกประการหนึ่ง คือเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ เพราะเมื่อผู้บริโภคนำบริการ 3G ไปใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะส่งผลกระทบต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เนื่องจากจะไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้

จากประเด็นที่น่าห่วงใยทั้งหมด ที่ประชุม คบท. จึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการ 3G บนโครงข่ายทีโอที ในหลายประเด็น ได้แก่

1) ควรเร่งพิจารณาแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G โดยเฉพาะของผู้ให้บริการ MVNO เนื่องจากไม่เคยมีสัญญาเดิมมาก่อน

2) ควรกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงของบริการข้อมูล และส่งเสริมให้มีการคิดค่าบริการทั้งตามระยะเวลางานและตามปริมาณข้อมูล

3) ควรแก้ปัญหาการจำกัดระยะเวลาใช้งานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินอย่างจริงจัง

4) ควรมีระบบติดตามตรวจสอบคุณภาพและพื้นที่บริการของระบบ 3G และกำกับดูแลให้เกิดการโรมมิ่ง เพื่อผู้บริโภคสามารถใช้บริการปกติได้นอกพื้นที่ให้บริการ 3G ซึ่งส่งผลให้ประหยัดทรัพยากรเลขหมาย

5) ควรกำกับดูแลการแข่งขัน เพื่อให้ผู้ให้บริการรายใหม่หรือรายย่อยสามารถอยู่รอดได้ โดยเฉพาะกรณีผู้ให้บริการรายใหญ่จะโรมมิ่ง บริการข้อมูลกับโครงข่าย 3G ของ บมจ.ทีโอที

6) ควรกำกับดูแลให้มีการขยายพื้นที่ให้บริการ เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคเข้าถึงบริการได้

7) ควรกำชับให้มีการลงทะเบียนหรือจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการในระบบเติมเงิน อย่างเคร่งครัดเพื่อให้สามารถตรวจสอบผู้กระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ได้

http://www.prachatai.com/journal/2010/02/27612



--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น