อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทเรียนจากความผิดพลาด กรณี"มาบตาพุด"

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11556 มติชนรายวัน


บทเรียนจากความผิดพลาด กรณี"มาบตาพุด"


โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ



การที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อปลายเดือนกันยายนศกนี้ ด้วยการสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีมาบตาพุดอีก 5 กระทรวงได้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข ระงับโครงการหรือกิจกรรมตามโครงการมาบตาพุด 76 โครงการไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น

ดูเหมือนจะจุดชนวนให้เกิดการกล่าวอ้างว่า การระงับโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นลูกโซ่มีมูลค่ามหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเกิดข้อโต้แย้งถกเถียงอื่นๆ ตามมาหลายประการนั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า "เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิด และไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น" หากผู้เกี่ยวข้องไม่ก่อความผิดพลาดขึ้น

แน่นอนที่สุด ขณะนี้หน่วยงานของรัฐ และผู้เกี่ยวข้องย่อมจะพยายามหาทางเยียวยาความเสียหาย และแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด

อย่างไรก็ดี เราควรจะถือโอกาสที่สังคมกำลังเพ่งเล็งปัญหานี้ร่วมกันสำรวจที่มาของความบกพร่องผิดพลาดครั้งนี้ และหาทางแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยได้อีกในอนาคต



1. รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมองเห็นปัญหานี้ล่วงหน้าหรือไม่?

บทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 อันเป็นที่มาของข้อโต้แย้งถกเถียงเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้น อันที่จริงไม่ใช่ของใหม่ เพราะเป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นตามแนวของมาตรา 56 วรรคสอง และมาตรา 59 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ซึ่งมีผลใช้มาแล้วถึง 12 ปีนั่นเอง

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ก็คือ หลักคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกาย โดยเน้นสิทธิในการดำรงชีพอย่างปกติ ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ด้วยเหตุนี้มาตรา 67 วรรคสองจึงวางหลัก ห้ามมิให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพของประชาชน

แต่การห้ามนี้ก็ไม่ใช่ห้ามขาด เพราะสิ่งที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงนั้น ในทางหลักวิชาในทางข้อเท็จจริง หรือตามมาตรฐานความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอาจจะไม่รุนแรงก็ได้

ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงวางข้อยกเว้นไว้ว่าการดำเนินกิจการเหล่านี้อาจมีได้หากได้ทำสิ่งสำคัญ 3 สิ่งเสียก่อนคือ

1.ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

2.รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย

3.ให้คนกลาง คือองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชน และนักวิชาการซึ่งเป็นผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพได้ให้ความเห็นประกอบ

กล่าวได้ว่า ความตามรัฐธรรมนูญนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักดีด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติไว้เมื่อ 2 ตุลาคม 2550 กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักร่วมกันกับส่วนราชการอื่นทุกหน่วยงานกำหนดมาตรการและกระบวนการรองรับการใช้สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการดำเนินการตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ

แต่จากบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ปรากฏว่าจนถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

จะเห็นได้ว่าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักการเมืองที่รับผิดชอบจะใส่ใจต่อปัญหาสำคัญที่จะอาจกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ก็น่าจะได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันผลร้ายไว้บ้าง เพราะตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2550 จนกระทั่งศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก็มีเวลาร่วม 2 ปีเต็ม

คำถามที่ประชาชนควรถามก็คือ การที่งานราชการหละหลวมไม่มีการเตรียมการวิเคราะห์และป้องกันความเสี่ยง ตลอดจนวางมาตรการแก้ปัญหาให้ทันท่วงที จนเกิดเป็นเรื่องเสียหายใหญ่โตขึ้นเช่นนี้ ใครบ้างหนอควรจะต้องรับผิดชอบ?



2. เหตุใดหน่วยงานของรัฐเพิ่งจะมาตื่นตัวเอาในปี 2552?

ความชะล่าใจของหน่วยงานของรัฐที่ดำรงอยู่เกือบสองปีได้สิ้นสุดลงเมื่อประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองระยองว่าการดำเนินการของนิคมอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลมาบตาพุด ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนในท้องที่อย่างรุนแรง แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกลับละเลยไม่ประกาศกำหนดให้ท้องที่ตำบลมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ

และศาลปกครองระยองได้พิพากษาเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2552 ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศท้องที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด และใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

จากนั้นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหน่วยต่างๆ จึงเริ่มร้อนตัว และหาทางแก้ตัวด้วยการทยอยส่งหนังสือหารือมายังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า

1.มาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญมีผลบังคับทันทีหรือไม่ หรือต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมากำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเสียก่อน และ

2.ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเช่นนั้นหน่วยงานของรัฐจะวางมาตรการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญไปพลางก่อนได้หรือไม่

3.ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะดังกล่าว หน่วยงานซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายปัจจุบันจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายปัจจุบันออกใบอนุญาตแก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจอยู่ใต้บังคับของมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญหรือไม่

มีข้อน่าสังเกตว่าหากหน่วยงานเหล่านี้ได้รับหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนตุลาคม 2550 แล้วเกิดสงสัยขึ้นว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร ดังนี้คำถามข้างต้นนี้ก็น่าจะส่งมายังกฤษฎีกาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 โน่นแล้ว



การที่รอมาถึงสองปีแล้วค่อยถามจึงเป็นข้อที่ชวนสงสัยในคุณสมบัติและความเหมาะสมต่อตำแหน่งของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง

การใช้เวลาเนิ่นนานเช่นนี้ ทำให้ฉุกคิดต่อไปว่าถ้าไม่มีคำพิพากษาศาลปกครองระยองเมื่อเดือนมีนาคม 2552 ขึ้นมา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเริ่มคิดตั้งคำถามกันหรือไม่

และในระหว่าง 2 ปีมานี้ บรรดากระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิพอที่จะตอบปัญหานี้ได้เชียวหรือ ในเมื่อบุคลากรหรืออดีตบุคลากรของหน่วยงานเหล่านี้ก็ล้วนได้รับเชิญไปเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาบ้าง เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์ใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากอยู่หลายคน รับเบี้ยประชุมและโบนัสกันบางแห่งเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท

ท่านเหล่านั้นจะไม่มีสติปัญญาเพียงพอจะคิดหาคำตอบไม่ออกกันเชียวหรือ



3. เหตุใดความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ช่วยแก้ปัญหา?

คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของหน่วยงานต่างๆ ที่เสนอเข้ามาโดยใช้เวลาประชุม 3 เดือนระหว่างพฤษภาคมจนถึงกรกฎาคม 2552 จนได้ข้อยุติสรุปได้ว่า

1.แม้สิทธิชุมชนและความคุ้มครองตามมาตรา 66 และ 67 ของรัฐธรรมนูญจะได้เกิดขึ้นและได้รับการคุ้มครองแล้วทันทีที่รัฐธรรมนูญมีผล แต่เมื่อมาตรา 303 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดทำให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นต่อไปว่ามาตรา 303 มาเป็นบทยกเว้นในฐานะเป็นบทเฉพาะกาล มีผลให้มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับทันที จนกว่าจะมีการตรากฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติแล้ว

2.ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดตามมาตรา 67 วรรคสองคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่จัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แต่หากหน่วยงานของรัฐจะใช้ดุลพินิจดำเนินการตามรัฐธรรมนูญไปพลางก่อนก็ไม่ต้องห้าม แต่อาจเกิดความสับสน เพราะอาจใช้เกณฑ์ต่างกัน และควรเข้าใจด้วยว่าเกณฑ์เหล่านั้นไม่มีผลบังคับเด็ดขาด คือผู้เกี่ยวข้องมีสิทธิโต้แย้งหน่วยงานที่วางเกณฑ์เหล่านั้นได้

3.ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายเฉพาะนั้น หน่วยงานของรัฐอาจออกใบอนุญาตแก่โครงการต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางที่กฎหมายที่บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดไว้ได้ เพื่อมิให้การพิจารณาอนุญาตหรือการลงทุนของเอกชนต้องหยุดชะงักอันส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและเศรษฐกิจของประเทศ

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ได้ทำขึ้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2552

แต่สำหรับผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวในทางกฎหมายมหาชนพอสมควร ก็จะทราบว่าความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้มีปัญหาทางหลักวิชา

เพราะการตีความว่ามาตรา 67 วรรคสองยังไม่มีผลบังคับทันที ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับเสียก่อนนี้ เป็นการตีความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง และก่อให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ตามมาอีกหลายประการ

การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ ขัดกับความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 อย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่ารัฐธรรมนูญมุ่งให้สิทธิขั้นพื้นฐานมีผลบังคับทันที จึงได้ตัดถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า "ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ" ออกไป

นอกจากนี้กรณีมาตรา 67 นี้ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยไว้ก่อนนั้นแล้วว่าย่อมมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับอีก

ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินกรณีถมคลองถนนเขต ไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 เกือบสองปีก่อนที่คณะกรรมการกฤษฎีกาจะทำความเห็นข้างต้นนี้ โดยศาลได้ปรับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 และวางหลักว่าแม้การคุ้มครองสิทธิตามมาตรา 46, 56 และ 59 ของรัฐธรรมนูญ 2540 จะตกอยู่ใต้บังคับแห่งข้อความที่ว่า "ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ" ก็ต้องถือว่ามีผลเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนทันทีแม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติ

และในคดีนี้ศาลได้วินิจฉัยต่อไปด้วยว่ามาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ย่อมมีผลบังคับทันทีเช่นกัน เพียงแต่ในคดีนี้ศาลได้วินิจฉัยว่าการถมคลองแม้จะมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ยังไม่ถือว่ากระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือชุมชนอย่างรุนแรง

ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาที่ 3/2552 ในคดีบ่อขยะที่ขอนแก่นเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ โดยได้ชี้ไว้ว่าโดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มีเจตนารมณ์ให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบัญญัติอนุวัติการ

ดังนั้น การปรับใช้มาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมจึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยนัยนี้โครงการที่แม้ตามกฎหมายไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หากปรากฏว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อบุคคลหรือชุมชนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพชีวิต บุคคลหรือชุมชนมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสาม เพื่อให้มีการดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง

เห็นได้ชัดว่าความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดต่อพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎหมายย่อมมีผลผูกพันคณะกรรมการกฤษฎีกาในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าในการทำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการหยิบยกคำพิพากษา 2 ฉบับนี้ขึ้นมาถกเถียงกันแต่อย่างใด

หากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างคณะกรรมการกฤษฎีกามองข้ามคำพิพากษาสำคัญๆ ของศาลปกครองสูงสุด และไม่ติดตามแนวคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจะพึ่งพาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นที่ปรึกษาในเรื่องสำคัญๆ ได้อย่างไร



4. บทเรียนคดีมาบตาพุดสะท้อนอะไร?

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่หลงหูหลงตาคณะกรรมการกฤษฎีกา และกองเลขานุการไปครั้งนี้ หากจะมองในแง่ระบบข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีก็ยังอาจจะเข้าใจกันได้

แต่ถ้ามองในแง่หลักวิชาแล้วนับว่าน่าหวาดเสียวอย่างยิ่ง เพราะจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา พบว่าการให้ข้อคิดเห็นในกรณีดังกล่าวนี้ดำเนินไปอย่างปราศจากข้อท้วงติง หรือข้อถกเถียงที่พึงมีในทางหลักวิชาอย่างสำคัญ

ในวงวิชานิติศาสตร์ หลักการที่ว่าการตีความกฎหมายต้องตีความให้เป็นผลเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่ทั่วไป แต่การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีลักษณะเป็นการตีความให้รัฐธรรมนูญไร้ผลในกรณีนี้ นับว่าเป็นการตีความที่ส่งผลให้คณะกรรมการสูญเสียความน่าเชื่อถือทางวิชาการไปอย่างสำคัญ

นอกจากนี้ หลักวิชากฎหมายมหาชน และหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญยังมีหลักที่ถือเป็นกฎเหล็กข้อหนึ่งว่าการจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนั้น จะจำกัดจนกระทบถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้ หลักข้อนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่า "หลักธำรงรักษาสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพ" ตามรัฐธรรมนูญ หรือหลักรักษา "essential substance" ที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ เป็นหลักที่มีทั้งในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 และยังมีอยู่ในมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ 2550

ผลของหลักดังกล่าวก็คือ ในเมื่อออกกฎหมายมาจำกัดให้กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิยิ่งทำไม่ได้ และต้องคำนึงถึงการธำรงรักษาสาระสำคัญแห่งสิทธิไว้ก่อนเสมอ จะยอมให้ถูกจำกัดในสาระสำคัญไม่ได้

การปรับใช้กฎหมายกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิจะมีได้ก็เฉพาะในกรณีที่เป็นการคุ้มครองสิทธิที่มีคุณค่าสูงกว่าเท่านั้น การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ถึงกับทำให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญไร้ผลไปจึงนับว่าขัดต่อหลักสาระสำคัญแห่งสิทธิ นับได้ว่าขัดต่อหลักวิชาเป็นอย่างยิ่ง

คำถามที่ว่าหากรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิไว้ โดยยังไม่มีกฎหมายมากำหนดรายละเอียดดังนี้จะปรับใช้กฎหมายอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่มีหลักเป็นที่รู้เข้าใจกันในหมู่นักกฎหมายมหาชนอยู่แล้วว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย ย่อมมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น จึงต้องตีความรัฐธรรมนูญเสียด้วยทุกครั้งไป อย่างไรเรียกว่ากระทบรุนแรง อย่างไรเรียกว่าองค์กรอิสระ เมื่อยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ ก็เป็นกรณีต้องตีความและปรับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับสาระสำคัญแห่งสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญใช้ข้อความที่มีความหมายกว้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐก็ต้องใช้และตีความรัฐธรรมนูญไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ โดยคำนึงถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นๆ เป็นสำคัญ ไม่ใช่อ้างว่ายังไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดรายละเอียดจึงถือว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับ เพราะในกฎหมายอื่นๆ ที่ไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียด ผู้มีหน้าที่ใช้กฎหมายก็ต้องตีความกฎหมายเสมอ

เช่น หลักในมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า "การใช้สิทธิก็ดีการปฏิบัติหน้าที่ก็ดี ต้องกระทำโดยสุจริต" ก็ไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดแต่ก็ใช้บังคับได้มาร่วม 80 ปีแล้ว

คำว่า "ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" ในมาตรา 150 และคำว่า "ความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร" ในมาตรา 1337 ก็ล้วนแต่ไม่มีกฎหมายใดมากำหนดรายละเอียดทั้งสิ้น

ข้ออ้างของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ารัฐธรรมนูญเขียนไม่ชัดเจน จึงฟังไม่ขึ้น

แน่นอนว่าฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจเข้ามามีส่วนช่วยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนขึ้นได้ แต่การที่เราเรียกวิชานิติศาสตร์กัน และการที่หน่วยงานทั้งหลายต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์ประจำในตำแหน่งสำคัญ ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องรอให้ฝ่ายนิติบัญญัติมากำหนดรายละเอียดเอาเสียทุกเรื่องนั่นเอง

นอกจากนั้น การใช้กฎหมายที่ผิดพลาด หรือการตรากฎหมายที่ไม่ชอบ ย่อมต้องถูกตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และความสัมพันธ์เชิงเหตุผลที่ดำรงอยู่ในข้อเท็จจริงนั้นๆ และใช้มาตรฐานทางวิชาการนิติศาสตร์มาเป็นเกณฑ์

การที่กฎหมายมีผลใช้บังคับได้ และเป็นที่เชื่อถือของสาธารณชนได้ ก็ต่อเมื่อมีนักกฎหมายที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และใช้ความรู้และสติปัญญาของตนในการตีความและปรับใช้กฎหมายอย่างซื่อสัตย์ทั้งต่อกฎหมายและต่อคุณธรรม โดยระวังไม่ให้มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องด้วย แต่ถ้าขาดความรู้ หรือขาดความซื่อตรง หรือไปมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องด้วย การวินิจฉัยของตนก็ย่อมจะเสื่อมเสียความน่าเชื่อถือ และอาจเกิดผลร้ายแก่สังคมส่วนรวมเกินกว่าที่จะคาดหมายได้อีกด้วย

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีมาบตาพุดครั้งนี้ ในความเห็นของผู้เขียนเป็นกรณีที่เป็นผลมาจากความรู้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง ความตระหนักในคุณธรรมและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้มแข็ง ซึ่งส่งผลสะเทือนจนทำให้ประเทศไทยไม่เข้มแข็ง แต่ก็ดูเหมือนว่าแม้ปัญหาวิกฤตในบ้านเราจะเกิดจากความรู้ทางกฎหมายที่ไม่เข้มแข็งนี้จะดำเนินมาเป็นเวลานับสิบปี รัฐบาลก็ยังไม่มีโครงการจะแก้ไขสักที

ชวนให้สงสัยต่อไปว่า หรือว่าต้นเหตุของเมืองไทยไม่เข้มแข็งนั้นแท้จริงแล้วอยู่ที่รัฐบาล?


หน้า 6
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01301052&sectionid=0130&day=2009-10-30

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
news
http://net209.blogspot.com/ net9
http://parent-youth.blogspot.com/ parent-youth.net
http://holistic1951.blogspot.com/ holistic
http://parent-net.blogspot.com/ parent
http://netnine.blogspot.com/  science
http://newsacademic.blogspot.com/ newsacademic
http://pwdinth.blogspot.com/
http://senatelibrary.wordpress.com/about
http://gotoknow.org/blog/cemu/295924

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเสื่อมด้านจริยธรรมของกรรมการกฤษฎีกา?

วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:30:54 น.  มติชนออนไลน์ Share

ความเสื่อมด้านจริยธรรมของกรรมการกฤษฎีกา?
 

โดยสายสะพาย

 ช่วงนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากแวดวงวิชาการกฎหมายโดยเฉพาะการตีความการใช้มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จนปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดปัญหา 76 โครงงการมาบตาพุดที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐระงับการดำเนินการไว้เป็นการชั่วคราว


ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถึงกับระบุว่า ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎหมายย่อมมีผลผูกพันคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย  แต่ไม่ปรากฏว่า ในการทำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีการหยิบยกคำพิพากษา 2 ฉบับนี้ขึ้นมาถกเถียงกันแต่อย่างใด


นอกจากกรณีนี้แล้ว การแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาชุดใหม่ 108 คน ก็ถูกตั้งคำถามว่า มีการพิจารณาเรื่องจริยธรรมด้วยหรือไม่ เพราะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหม่ซึ่งส่วนใหญ่แต่งตั้งต่อเนื่องจากชุดเดิม(มี 113 คน)ปรากฏว่า มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตเลขาธิการ ก.พ.และนายศุภรัตน์ ควัฒนกุล  อดีตปลัดกระทรวงการคลังรวมอยู่ด้วย


บุคคลทั้งสองถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดกรณีการแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร 3 คนไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดระบุว่า  มีการกำหนดตัวบุคคลไว่ล่วงหน้าแล้วโดยคุณหญิงทิพาวดีถูกกล่าวหาว่า ประมาทเลินเล่อทำให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง


ขณะที่นายศุภรัตน์ถูกกล่าวหาว่า ทุจริตต่อหน้าที่ จึงมีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีความผิดอาญา


ต่อมา อ.ก.พ.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีมติปลดคุณหญิงทิพาวดีออ จากราชการ  ส่วนอ.ก.พ.กระทรวงการคลังมีมติไล่นายศุภรัตน์ออกจากราชการและยังถูกดำเนิน คดีอาญาด้วย


แม้บุคคลทั้งสองยื่นอุทธรณณ์คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม (ก.พ.ค.) แต่ ก.พ.ค. ทำได้เพียงพิจารณาระดับโทษ แต่ไม่สามารถพิจารณาฐานความผิดได้


ดังนั้น กรณีคุณหญิงทิพาวดี  ก.พ.ค.คงต้องยืนมติปลดออกจากราชการ


ขณะที่นายศุภรัตน์ ก.พ.ค.มีโอกาสพิจารณาลดโทษเหลือปลดออกจากราชการได้


ทางออกสุดท้ายคือ การยื่นฟ้อง ก.พ.ค.ต่อศาลปกครองสูงสุด


ประเด็นเรื่องนี้คือ ทำไมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงคัดเลือกบุคคลที่ถูกปลดออกและไล่ออกจากราชการเป็นกรรมกฤษฎีกา แม้ว่า ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 จะไม่มีบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติของกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไว้หรือแม้คดี จะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่ผลการปลดออกและไล่ออกยังมีผลอยู่จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา


การที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งบุคคลทั้งสองสะท้อนให้เห็นสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมกำลังเสื่อมทรามลงหรือไม่?

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1256381597&grpid=no&catid=02

--
http://logistics.dpim.go.th
http://thainews.prd.go.th
http://ncecon5.nida.ac.th


วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กมธ.ป.ป.ช.สผ.รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

 

 

 

 

กมธ.ป.ป.ช.สผ.รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

22 ต.ค. 52 -            รองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ กรณีอัยการสูงสุดทำงานล่าช้าในการพิจารณาคดี นายมานิตย์ สุธาพร

                นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์  รองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือร้องเรียนจากนายณัชพล โรจน์ถาวร ประธานเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) ในกรณีที่ทางกลุ่ม ส.ท.ช.ต้องการให้คณะกรรมาธิการ ป.ป.ช.ของสภาผู้แทนราษฎร ได้เร่งรัดคดีความที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดแก่นายมานิตย์ สุธาพร ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมบังคับคดี แก่อัยการสูงสุด แต่ปรากฏว่า อัยการสูงสุดทำงานล่าช้า ส่อเค้าว่าจะมีความไม่โปร่งใสในการดำเนินการ ทางกลุ่มจึงต้องการให้คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรได้เชิญอัยการสูงสุดมาสอบถามว่าเหตุใดจึงมีความล่าช้าในการพิจารณาเพื่อเป็นการเร่งรัดให้คดีมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะเหลือเวลาอีกไม่นานคคีความที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดก็จะหมดอายุความแล้ว

                ทางด้านรองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใดในการพิจารณา

 

 

 

 

 

 

 

เกรียงไกร  หอมจันทร์เทศ ข่าว / เรียบเรียง

 



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ขรก.ฝืนกฎ 9 ข้อ หมดสิทธิขึ้นเงินเดือน

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11547 มติชนรายวัน


ขรก.ฝืนกฎ 9 ข้อ หมดสิทธิขึ้นเงินเดือน


คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย



เมื่อ กลางเดือนตุลาคม 2552 มีการประกาศใช้กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ.2552 ในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 สาระสำคัญของกฎ ก.พ.ฉบับนี้ คือการเลื่อนขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำปีละ 2 ครั้งแต่ละครั้งห้ามเกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน

ขณะเดียวกันห้ามใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน

นอก จากนั้น การขึ้นเงินเดือน จะพิจารณาตามการปฏิบัติตนและหน้าที่ซึ่งข้าราชการซึ่งจะได้รับการพิจารณา เลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 9 ข้อดังต่อไปนี้

1.ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละ 60

2.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งมิใช่ความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

3.ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่า 2 เดือน

4.ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

5.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือนหรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย

6.ในครึ่งปีที่แล้วมาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 4 เดือน

7.ในครึ่งปีที่แล้วมา ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 4 เดือน

8.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลา หรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ผู้บังคับบัญชากำหนดเป็นหนังสือไว้ก่อนแล้ว โดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของหน่วยงาน

9.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ โดยมีวันลาไม่เกิน 23 วัน (เฉพาะวันทำการ) แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (6) หรือ (7) และวันลาดังต่อไปนี้

(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบียเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตาม กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน
(ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกัน ไม่เกิน 60 วันทำการ
(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

หน้า 22



--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
chan
http://integration9.blogspot.com/ integration
http://sundara21.blogspot.com/      sandara
http://same111.blogspot.com/        culture
http://sea-canoe.blogspot.com/      seacanoe
www.pil.in.th

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

องค์กรสิทธิมนุษยชนร้อง "มาร์ค" ตรวจสอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าหวั่นมีการเอาเปรียบ-ค้ามนุษย์

องค์กรสิทธิมนุษยชนร้อง “มาร์ค” ตรวจสอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าหวั่นมีการเอาเปรียบ-ค้ามนุษย์

องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่ทำงานในประเทศ ไทย หวั่นแรงงานอาจถูกแสวงประโยชน์-ค้ามนุษย์-ถูกรัฐบาลพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอให้รัฐบาลผลักดันรัฐบาลทหารพม่าให้มีการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 52 ที่ผ่านมา องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนสามองค์กร ประกอบด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติชาวพม่ากว่า 2 ล้านคนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย
 
ในหนังสือร้องเรียนระบุว่า องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งว่า แรงงานอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นจากกระบวนการ ทุจริตเรียกเงิน หรือกระทั่งกระบวนการค้ามนุษย์ และอาจทำให้ครอบครัวแรงงานซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้ยื่นหนังสือถึงผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 และขอถือโอกาสเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานจาก ประเทศพม่าเพื่อให้นายรัฐมนตรีพิจารณา
 
โดยข้อเรียกร้องที่สำคัญคือ เสนอให้รัฐบาลไทยเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์ สัญชาติในประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญคือ ช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น
 
นายสาวิทย์ แก้วหวานเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า ดูเหมือนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติจะเป็นกระบวนการสองมาตรฐาน ในทางหนึ่งแรง งานข้ามชาติสามารถส่งข้อมูลส่วนบุคคลให้ศูนย์ของเอกชนเพื่อพิสูจน์สัญชาติ และจะสามารถได้รับหนังสือเดินทางและวีซ่า ซึ่งใช้เวลาดำเนินการประมาณหนึ่งเดือน หรือในอีกทางหนึ่ง แรงงานจะส่งข้อมูลให้สำนักจัดหางานแต่จะได้รับการตอบรับที่ช้ามาก กระบวนการ ของภาครัฐเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า (600-2,100 บาท) ทว่าหากดำเนินการผ่านนายหน้าอย่างไม่เป็นทางการ ค่าดำเนินการจะสูงกว่าของภาครัฐ โดยไม่มีการควบคุมและราคากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ (ขณะนี้ราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 7,500 บาท) นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐเองยังแนะนำให้นายจ้างใช้นายหน้าเอกชนในการดำเนินการดัง กล่าวอีกด้วย
 
กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มโดยเฉพาะไท ใหญ่รู้สึกหวาดกลัวที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลในการพิสูจน์สัญชาติ เนื่องจากมีข่าวลือว่าจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อครอบครัวของตนเองที่ยังอาศัย อยู่ในประเทศพม่า ทั้งยังมีข่าวลือว่ารัฐบาลทหารพม่าจะฉวยโอกาสนี้จับนัก เคลื่อนไหวทางการเมือง และมีข่าวว่ามีแรงงานข้ามชาติถูกจับกุมระหว่างการเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งยังมีนายหน้าบางส่วนที่รับเงินจากแรงงานข้ามชาติไป แต่ไม่ดำเนินการใดๆ ให้
 
นายสมชาย หอมลออ เลขาธิการมสพ. กล่าวเสริมว่า “มสพ. และองค์กรเครือข่ายจึงขอร้องเรียนให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเร่งตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาตินี้ นอกจากนี้ เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลได้เร่งผลักดันให้รัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้มีการ พิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ รวดเร็วกว่า และสามารถลดการแสวงหาประโยชน์โดยไม่สมควรจากนายหน้า รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยให้กับแรงงานข้ามชาติด้วย”
 
นายสมชาย กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “หากกระบวน การยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเช่นนี้ ก็ดูเหมือนว่าเป็นกระบวนการที่ไร้ประสิทธิภาพ เราเกรงว่าแรงงานข้ามชาติชาวพม่าจะกลายมาเป็นเหยื่อของการแสวงหาประโยชน์อีก ครั้ง ได้รับความเดือดร้อนโดยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และบางทีอาจกลายมาเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เนื่องจากพวกเขาต้องเดินทางไป ยังชายแดนพม่ากับบรรดานายหน้าที่ไม่ได้มีการควบคุมตรวจสอบจากทางราชการ”
 
สำหรับหนังสือร้องเรียนนายกรัฐมนตรีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
 

 
5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
 
เรื่อง การพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
สำเนาถึง 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
5. ประธานคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าว
6. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
7. ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา
8. ประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
9. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
ด้วยองค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน สามองค์กร ประกอบด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ศึกษาและติดตามปัญหาแรงงานข้ามชาติจำนวนประมาณ 2- 3 ล้านคน ซึ่งส่วนมากเป็นแรงงานจากประเทศพม่ามาโดยตลอดนั้น องค์กรทั้งสามขอสนับสนุนนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่มีมติผ่อนผันให้แรงงงานซึ่ง เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมายมีสิทธิอาศัยชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งวางแนวปฏิบัติในการอนุญาตจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นรายปี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เห็นชอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า
 
อย่างไรก็ดี องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 ที่เห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติหลบหนีเข้าเมืองที่ยังคงอยู่นอกระบบ และลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษมีระยะเวลาสองปี สิ้นสุดไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มติดังกล่าวมีผลให้แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าประมาณ 2 ล้านคนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จึงต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติอันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ กว่า 13 ขั้นตอน โดยมีกรมการจัดหางาน สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศของพม่าและของประเทศไทย ศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติประจำประเทศไทย ณ เมืองชายแดนสามแห่ง และศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติประจำประเทศพม่าเป็นหน่วยงานที่รับผิด ชอบ ทั้งนี้ แรงงงานข้ามชาติดังกล่าวมีเวลาถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ หากไม่ผ่านกระบวนการนี้ก็จะถูกผลักดันออกนอกประเทศ
 
องค์กรทั้งสามได้รับทราบข้อมูลจากคำ บอกเล่าของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า เกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติ และข้อมูลเกี่ยวกับบริการของหน่วยงานเอกชนบางแห่ง ซึ่งเป็นนายหน้าให้ความช่วยเหลือในการจัดส่งเอกสาร การนำแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติยังศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติตามอำเภอบริเวณ ชายแดนไทย-พม่า นำแรงงานข้ามพรมแดนเพื่อรับการพิสูจน์สัญชาติ และนำกลับเข้ามาประเทศไทยโดยได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวและใบอนุญาตทำงาน โดยคิดค่าบริการในอัตราที่หลากหลาย พอสรุปได้ว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่และองค์กรซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ จำนวนมาก ยังคงไม่ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงอัตราค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน อีกทั้งไม่ตระหนักถึงประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ ในครั้งนี้ นอกจากนี้ แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐบาล ทหารพม่า ยังรู้สึกไม่ไว้วางใจและไม่กล้าแสดงตนต่อรัฐบาลทหารพม่าเพื่อเข้ารับการ พิสูจน์สัญชาติ เนื่องจากหวาดกลัวว่าครอบครัวที่อยู่ในประเทศพม่าอาจถูกกลั่นแกล้งได้ หลังจากรัฐบาลทหารพม่าได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของชนกลุ่มน้อยดังกล่าว อนึ่ง แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าจำนวนมากไม่มีเอกสารแสดงตนที่ออกโดยรัฐบาลทหาร พม่า
 
องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเป็นอย่าง ยิ่งว่า แรงงานอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นจากกระบวนการ ทุจริตเรียกเงิน หรือกระทั่งกระบวนการค้ามนุษย์ และอาจทำให้ครอบครัวแรงงานซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้ยื่นหนังสือถึงผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 และขอถือโอกาสนี้กราบเรียนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรง งานจากประเทศพม่ามายังท่านเพื่อโปรดพิจารณา ดังนี้
 
1. รัฐบาลควรเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติใน ประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญคือ ช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น
 
2. กระทรวงแรงงานและกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการให้ความรู้แก่แรงงาน ข้ามชาติพม่าอย่างทั่วถึงโดยเร่งด่วน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าใจกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว การประชาสัมพันธ์ควรมีการวางแผนและประสานงานกับเจ้าหน้าที่พม่า และควรจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้มีภาษาท้องถิ่นต่างๆของกลุ่มชาติพันธุ์ใน พม่า และภาษาไทยสำหรับนายจ้าง
 
3. กระทรวงแรงงานย่อมตระหนักดีว่าแรงงานข้ามชาติเพิ่งเสียค่าขึ้นทะเบียนแรงงาน ประจำปี 2552-2553 โดยแรงงานต้องเสียค่าใช้จ่าย 6,000-7,000 บาทต่อคน และใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุลงในอีก 8 เดือนข้างหน้า ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 แทนที่จะหมดอายุในเวลาอีก 12 เดือน กระทรวงแรงงานและนายจ้าง ควรดำเนินมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติขณะดำเนินการ พิสูจน์สัญชาติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของแรงงานข้ามชาติที่อาจตกเป็นแรงงานทาส เพื่อใช้หนี้ที่เกิดขึ้น
 
4. หากจำเป็นต้องใช้นายหน้าในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ นายหน้าควรดำเนินการโดยไม่แสวงกำไรเกินควร และได้รับการตรวจสอบควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล เนื่องจากมีความเป็นไปได้ สูงที่จะเกิดการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบกับแรงงานข้ามชาติ   ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีการกำกับดูแลนายหน้า แรงงานที่ใช้บริการนายหน้าเพื่อเดินทางไปเมืองชายแดนที่ห่างไกล ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเหยื่อการลักลอบขนคนเข้าเมือง หรือกระบวนการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี ทั้งนี้ รัฐบาลมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในทุกวิถีทางที่จะกระทำได้
 
5.  รัฐบาลควรให้ความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน และสหภาพแรงงานที่ทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ ในเรื่องกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และ/หรือ จัดให้หน่วยงานดังกล่าวเข้าเยี่ยมชมศูนย์การพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นกระจายข้อมูลต่อไปยังแรงงานข้ามชาติ
 
6. รัฐบาลได้กำหนดระยะเวลาที่แรงงานข้ามชาติจะต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้ แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นกำหนดระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และก่อให้เกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรงในหมู่แรงงานข้ามชาติว่า อาจถูกผลักดันออกนอกประเทศก่อนกระบวน การพิสูจน์สัญชาติจะแล้วเสร็จสำหรับทุกคน รัฐบาลควรลดความหวาดวิตกกังวลของแรงงานข้ามชาติ และควรกำหนดกรอบระยะเวลาใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
 
7. เนื่องจากการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าเกือบ 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้แล้วเสร็จนั้น ย่อมต้องใช้เวลา รัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้รับ สิทธิต่างๆ เท่าเทียมกับผู้ที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว
 
องค์กรทั้งสามหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะกรุณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำปัญหาและข้อเสนอแนะข้างต้นไป พิจารณา ทั้งนี้เพื่อประกันให้เกิดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่โปร่งใส ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสถานะของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองสิทธิแรงงานอย่างเสมอภาคให้เกิดขึ้น จริงต่อไปในอนาคตตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีใน อนุสัญญาฉบับต่างๆ
 
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
 
สาวิทย์ แก้วหวาน
(เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์)
 
โคทม อารียา
(ประธาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา)
 
วิไลวรรณ แซ่เตีย
(ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย)
http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26169

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

"ซาเล้ง" ถูกขู่ฆ่า สั่งรถตู้เถื่อน 6 พันคัน เลี่ยงเส้นทางหากิน "เจ๊เกียว"

“ซาเล้ง” ถูกขู่ฆ่า สั่งรถตู้เถื่อน 6 พันคัน เลี่ยงเส้นทางหากิน “เจ๊เกียว”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 ตุลาคม 2552 15:22 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

“ซาเล้ง” เดินหน้าจัดระเบียบรถตู้เถื่อน 6 พันคันทั่วประเทศ งัดแผนเด็ดลดกระแสต้าน สั่งเลี่ยงทับเส้นทางหากินแก๊ง “เจ๊เกียว” เจ้าตัวลั่นไม่มีการเมืองเกี่ยวข้อง แต่ยอมรับว่า รัฐมนตรีทั้ง 2 คน ถูกโทรศัพท์ข่มขู่เอาชีวิตหลายครั้ง
       
       นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงานประชุมทำความเข้าใจร่วมกับผู้ประกอบการรถตู้โดยสารนอกระบบ (รถตู้เถื่อน) เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถตู้เถื่อน ที่ให้บริการอย่างไม่ปลอดภัย สภาพรถไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงการเก็บอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นธรรม
       
       รมว.กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกได้เรียกเจ้าของรถตู้ที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสารในลักษณะ เดียวกันกับรถโดยสารประจำทาง แต่ไม่ได้ขอใบอนุญาตประกอบการขนส่ง และจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก หรือรถตู้เถื่อน เข้ารับฟังนโยบายและร่วมให้ข้อมูลในการหาแนวทางจัดระเบียบเดินรถได้ถูกต้อง ตามกฎหมาย โดยย้ำให้ดำเนินการจัดระเบียบอย่างโปร่งใส ไม่มีเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มจากที่กฎหมายกำหนด
       
       ทั้งนี้ หากการจัดระเบียบรถตู้แล้วเสร็จจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับ ประชาชนในต่างจังหวัด ที่ปกติจะต้องเสียค่าเดินทางหลายต่อ ให้ลดเหลือต่อเดียว และช่วยให้ผู้โดยสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ขณะที่ผู้ประกอบการรถตู้ก็ไม่ต้องได้รับความเดือดร้อนจากการถูกจับและเสีย ค่าปรับ
       
       ส่วนกรณีที่มีผู้ประกอบการรถโดยสารค้านการจัดระเบียบครั้งนี้ นายโสภณ กล่าวว่า ที่ผ่านมาถึงแม้จะไม่มีการจัดระเบียบรถตู้ ก็พบว่า มีรถตู้เถื่อนวิ่งให้บริการอยู่แล้ว เพราะจากผลการศึกษาตั้งแต่ปี 2549 พบว่า มีรถตู้เถื่อนวิ่งให้บริการอยู่ประมาณ 3,000 คัน แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจำนวนรถตู้เถื่อนเพิ่มขึ้นมากเกือบ 7,000 คัน ซึ่งหากไม่มีการจัดระเบียบก็อาจทำให้จำนวนรถตู้เถื่อนเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 คัน
       
       ดังนั้น เชื่อว่า การจัดระเบียบครั้งนี้จะไม่ทำให้ผู้ประกอบการรถโดยสารได้รับความเดือดร้อน มากกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนการหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการรถโดยสารก็จะมีการพิจารณาในขั้นตอนต่อ ไป
       
       อย่างไรก็ตาม รมว.คมนาคม ยอมรับว่า การเดินหน้าจัดระเบียบรถตู้ครั้งนี้ เป็นเหตุให้มีการโทรศัพท์ข่มขู่ทำร้ายร่างกาย และเอาชีวิต รัฐมนตรีคมนาคมทั้ง 2 คน หลายครั้ง ซึ่งส่วนตัวก็ได้เดินทางแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว
       
       ด้าน นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ในปัจจุบันมีผู้นำรถตู้ส่วนบุคคลมาวิ่งรับส่งผู้โดยสารในลักษณะเดียวกันกับ รถโดยสารประจำทางอยู่ทั่วประเทศกว่า 6,400 คัน ใน 60 เส้นทาง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการจัดระเบียบการขนส่งผู้โดยสารและเมื่อเกิด อุบัติเหตุหรือปัญหาอาชญากรรม ผู้โดยสารจะไม่ได้รับการคุ้มครอง ครบถ้วนตามกฎหมาย
       
       สำหรับการจัดระเบียบรถตู้เถื่อนในระยะแรก จะพิจารณาจากรถที่วิ่งจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัดในระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร (จำนวน 28 จังหวัด) ให้สามารถประกอบการขนส่งและจดทะเบียนรถเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะที่ถูกต้อง โดยให้เจ้าของรถเตรียมเอกสาร ได้แก่ สำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถของคันที่ให้บริการ พร้อมรูปถ่ายรถตู้โดยสารที่เห็นหมายเลขทะเบียนอย่างชัดเจน และสำเนาบัตรประชาชน และหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบสั่ง หรือใบเสร็จรับเงินค่าปรับจากเจ้าพนักงานตำรวจจราจร หรือผู้ตรวจการของกรมการขนส่งทางบก ส่วนผู้มาลงทะเบียนในวันนี้ กรมการขนส่งทางบกจะประสานให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เป็นผู้รับลงทะเบียนและรวบรวมข้อมูลการเดินรถของรถตู้ที่มาลงทะเบียน เพื่อพิจารณากำหนดเส้นทางเดินรถไม่ให้เกิดปัญหากับรถโดยสารที่มีอยู่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภท.เปิดศึกฮุบรถตู้เถื่อน "เจ๊เกียว" โวย "ซาเล้ง" เตะชามข้าวคว่ำ
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9520000118557

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คำตีความ ... คณะกรรมการกฤษฎีกา ประชามติหลังวาระ 1 ขัดรัฐธรรมนูญ

วันที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 21:09:56 น.  มติชนออนไลน์

คำตีความ ... คณะกรรมการกฤษฎีกา ประชามติหลังวาระ 1 ขัดรัฐธรรมนูญ

" ... หากจะมีการจัดทำประชามติในเรื่องนี้ ต้องดำเนินการก่อนที่ร่างจะเข้าสู่กระบวนการของรัฐสภา ... "

หมายเหตุ - บันทึกผลการหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับความเห็นข้อกฎหมายเรื่องการ ออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบกลับไปยังนายกรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆ นี้ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าการจัดทำประชามติในขั้นตอนที่ร่างอยู่ในการ พิจารณาของรัฐสภาแล้ว จึงอาจขัดต่อมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระทำมิได้

 


วิป 3ฝ่ายประชุมพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภา

 


ตามที่ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาปัญหาการออก เสียงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ขอเรียนเสนอผลการพิจารณา ดังนี้


1.การออกเสียงประชามติ
การ ออกเสียงประชามติเป็นไปตามมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ขณะนี้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว อยู่ในระหว่างส่งศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความถูกต้องก่อนน้ำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป) ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดในการดำเนินการไว้ ดังนี้

1.1 เรื่องที่จะออกเสียงประชามติ
การจัดให้มีการออกเสียงประชามติจะมีได้ในเหตุ ดังนี้
(1) คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นสมควรจัดให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องที่เห็นว่า กิจการเรื่องใดที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชนโดยมี เงื่อนไขว่า นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ ครม.ได้ปรึกษากับประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อจัดให้มีการออก เสียงประชามติ
(2) กฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ

1.2 ผลของการออกเสียงประชามติ
(1) การออกเสียงเพื่อมีข้อยุติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ ต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวน เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง
(2) การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง
(3) การออกเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นแต่ถ้ากฎหมายมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนไว้ให้ใช้ (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี

1.3 ข้อจำกัดในการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติที่จะกระทำมิได้ ได้แก่
(1) การออกเสียงในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
(2) การออกเสียงเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล


2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ในมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ ดังนี้
2.1 ผู้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่

(1) ครม.

(2) ส.ส.ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร

(3) ส.ส. และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด

(4) ประชาชนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน

2.2 การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

2.3 การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองให้ใช้เสียงข้างมาก

2.4 เมื่อเสร็จวาระที่สองให้รอไว้ 15 วัน แล้วออกเสียงลงคะแนนโดยใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
2.5 เมื่อลงมติเสร็จแล้ว ให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างจากรัฐสภา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยใช้เป็นกฎหมาย


3.ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จาก บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นว่าการจัดให้มีการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ถ้า ครม.เห็นว่าเป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ได้เสียงของประเทศชาติหรือประชาชน อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อมีข้อยุติหรือเป็นการให้คำปรึกษาแก่ ครม.ก็ได้ แต่ผลการออกเสียงประชามติย่อมผูกพันเฉพาะ ครม.ผู้จัดให้มีการออกเสียง ไม่ผูกพันรัฐสภาหรือประชาชนซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
สำหรับขั้นตอนการจัดทำประชามติจะกระทำได้ในช่วงเวลาใดบ้างนั้นมีข้อพิจารณา ดังนี้

 

3.1 การจัดทำประชามติก่อนเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภา

ก่อนที่จะมีการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภา ครม.ย่อมสามารถจัดให้มีการออกเสียงประชามติได้เสมอ เพื่อให้ได้ข้อยุติว่าประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขในประเด็นใดบ้างหรือไม่ ซึ่งอาจเลือกจัดทำในขั้นตอน ดังนี้

(1) ขั้นตอนก่อนการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ครม.อาจกำหนดเป็นประเด็นที่จะให้ประชาชนออกเสียงประชามติเสียก่อน เมื่อทราบผลประชามติแล้วจึงยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปตามนั้น

(2) ขั้นตอนที่ยกร่างเสร็จเบื้องต้นก่อนที่จะเสนอต่อรัฐสภา

ในกรณีที่มีการมอบหมายให้องค์กรใดเป็นผู้ยกร่างเบื้องต้น เช่น คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เมื่อได้ยกร่างเสร็จก่อนนำเสนอรัฐสภา ครม.อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อนำผลมาให้ปรับปรุงร่างก่อนนำเสนอรัฐสภา

3.2 การจัดทำประชามติหลังจากมีการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภา

โดยที่มาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติว่า การจัดให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจะกระทำ มิได้ เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้บัญญัติขั้นตอนการดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ การที่ ครม.จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อมีข้อยุติว่ารัฐสภาต้องออกเสียงตามนั้น จึงอาจมีลักษณะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แตกต่างจากที่มาตรา 291 บัญญัติไว้ การจัดทำประชามติในขั้นตอนที่ร่างอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว จึงอาจขัดต่อมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระทำมิได้ เพราะเป็นการจัดให้มีการออกเสียงประชามติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

 

ทั้งนี้ อาจแยกพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนได้ ดังนี้

(1) ขั้นตอนในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

การพิจารณาในวาระที่หนึ่ง วาระที่สอง และวาระที่สาม รัฐสภาต้องออกเสียงลงคะแนนตามจำนวนคะแนนที่มาตรา 291 บัญญัติไว้ การนำผลการออกเสียงประชามติเพื่อให้มีข้อยุติต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ แก้ไขตามคะแนนเสียงประชามติ จึงเป็นการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐสภายังคงมีอิสระในการออกเสียงตามมาตรา 291 และหากคะแนนเสียงเป็นไปตามมาตรา 291 ก็จะต้องถือผลการลงคะแนนของรัฐสภา

(2) ขั้นตอนที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว

เมื่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว นายกฯมีหน้าที่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย จึงไม่อาจจัดให้มีการลงประชามติเพื่อเปลี่ยนแปลงขั้นตอนนี้ได้ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549 ที่บัญญัติรองรับให้มีการทำประชามติก่อน แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่มีบทบัญญัตินี้
โดยสรุป หากจะมีการจัดทำประชามติในเรื่องนี้ต้องดำเนินการก่อนที่ร่างจะเข้าสู่ กระบวนการของรัฐสภา เว้นแต่เป็นการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นทั่วไป เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาซึ่งมิใช่เป็นการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ

 

 

---------------------------------


มติวิป3ฝ่าย  ยกร่างก่อนเรื่องอื่นไว้ทีหลัง


หมายเหตุ - นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ร่วมกันแถลงข่าวผลประชุมวิป 3 ฝ่าย ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

 

-------------------------------------------


ชินวรณ์ บุณยเกียรติ  ประธานวิปรัฐบาล


ที่ประชุมมีมติให้ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภาแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนัก กฎหมายทั้ง 2 สภา เป็นกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้ยกร่างตามข้อเสนอของคณะกรรมสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษา แก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 แนวทาง คือ ฉบับละ 1 ประเด็น 6 ฉบับ และฉบับเดียวทั้ง 6 ประเด็น โดยให้กำหนดหลักการของกฎหมายอย่างกว้าง นอกจากนั้น ให้ไปดำเนินการจัดทำโครงร่างในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งข้อดีและข้อเสียของรัฐ ธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 รวมทั้งเหตุผลที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอให้มีการแก้ไข จากนั้นจะนำมาหารือกันอีกครั้งในวันที่ 22 ตุลาคมนี้


ที่ประชุมยังได้หารือถึงการจัดทำประชามติตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา เสนอให้ทำประชามติก่อนที่จะยกร่าง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ แต่ได้มอบให้แต่ละพรรคไปหารือและนำกลับเข้าที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 22 ตุลาคมเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ กระบวนการในการยกร่างคาดจะใช้เวลาภายใน 30 วัน และฝ่ายกฎหมายจะยกร่างญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วให้นำกลับมาหารือวิปทั้ง 3 ฝ่ายในวันที่ 5 พฤศจิกายน การประชุมวันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมือง และสมานฉันท์ต่อไป แต่การดำเนินการก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่วิปทั้ง 3 ฝ่ายยอมรับ คือ กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ส่วนการทำประชามติต้องเป็นไปตามมาตรา 165


----------------------------------------------


วิทยา บุรณศิริ   ประธานวิปฝ่ายค้าน


ก่อนที่ผมจะเข้าร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย ได้หารือกับผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคแล้วมายืนยันในวิปให้สบายใจว่า ฝ่ายค้านยังยืนยันที่จะสนับสนุนมติของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯให้แก้ไขรัฐ ธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็น และคิดว่าต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน แต่ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายถึง 2 พันล้านบาท แต่ต้องการเห็นว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วม ดังนั้น กระบวนการนี้ก็ต้องไปว่ากันอีกทีหลังการยกร่างเสร็จ ส่วนที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ประกาศถอนตัวจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ประเด็นนี้ได้พูดคุยกับ ร.ต.อ.เฉลิมแล้ว ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิมเกรงกลัวว่ารัฐบาลจะไม่ดำเนินการ ดังนั้น เทคนิคทางการเมืองก็เป็นอย่างที่รับทราบกัน


@  มองว่ารัฐบาลมีความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
ยังอยู่ในเส้นทางที่เรากำลังดำเนินการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ให้ความสำคัญอยู่ และทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันเหมือนเดิม


@ ในฝ่ายค้าน ใครมีอำนาจให้ความชัดเจนเป็นรูปธรรม เพราะที่ผ่านมากลับไปกลับมาตลอด
ที่นั่งอยู่นี้ยังเป็นประธานวิปอยู่ มีอำนาจดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง


@ ต้องฟังประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่
ท่าน ห่วงใย และวิตกว่ารัฐบาลอาจไม่จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะเป็นการกระตุ้นอย่างหนึ่งเพื่อเป็นแรงผลักดันให้แก้รัฐธรรมนูญเร็ว ขึ้น ผมได้หารือกับแกนนำพรรค ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่าหากจะแก้ไข 6 มาตรา ก็เดินหน้าไป แต่ถ้าจะนำเงิน 2,000 ล้านบาท มาทำประชามติเพื่อถามว่าจะแก้หรือไม่แค่ 6 มาตรา พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย เพราะหากทำประชามติก็ควรถามว่าจะให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้แทนรัฐธรรมนูญ 2550


@ หากรัฐบาลยังยืนยันจะทำประชามติแค่ 6 ประเด็นอยู่ พรรคเพื่อไทยจะถอนตัวหรือไม่
คงจะไม่ถอนตัว แต่จุดยืนของพรรคเห็นว่าควรจะทำประชามติทั้งฉบับ เพราะหากจะแก้แค่ 6 ประเด็นก็สามารถรับฟังความเห็นผ่านช่องทางอื่นได้


-------------------------------------------------------


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1255011639&grpid=&catid=02
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

เหตุ(ร้าวลึก!)เกิดที่ศาลปกครอง(อีกครั้ง)

วันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:30:04 น.  มติชนออนไลน์

เหตุ(ร้าวลึก!)เกิดที่ศาลปกครอง(อีกครั้ง)

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
 
ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์


ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์

สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงกฎหมายมหาชน อาจไม่เข้าใจว่า การลาออกของ ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ จากตุลาการศาลปกครองสูงสุดเพียงคนเดียว ทำไมจึงมีความสลักสำคัญมากมายนัก


โดยเฉพาะการลาออกดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากที่ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นเพียงอาการของคน"อกหัก"เท่านั้น


แต่ถ้าใครติดตามความเคลื่อนไหวในศาลปกครองมาตลอดจะรู้ว่า ปรากฏกาณณ์ที่เกิดขึ้นมิใช่เรื่องธรรมดา เพราะเป็นเรื่องหลักการในการทำงานของศาลปกครองใน เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจของฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร  แนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบความเชื่อ มั่นที่สาธารณชนมีต่อศาลปกครองได้


นอกจากนั้นในการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเมื่อปี 2543  ดร.วรพจน์ เป็นหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการลงหลักปักฐานของศาลปกครองกลางในฐานะ อธิบดีคนแรก เช่นเดียวกับ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์ ในฐานะเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองได้จัดระบบต่างๆรองรับการทำงานของตุลาการ


การทำงานของ ดร.วรพจน์ เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา  แม้บางครั้งจะมีความพยายามแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองผ่าน "อดีตบิ๊ก"บางคนในศาลปกครองสูงสุด แต่ดร.วรพจน์ ไม่ยินยอมและนำเรื่องเข้าที่ประชุมตุลาการศาลปกครองกลางพิจารณาหักล้าง


เมื่อมีการเปิดสอบตุลาการศาลปกครองสูงสุดรุ่นแรก ดร.วรพจน์ได้รับการขอจาก "ผู้ใหญ่" บางคนให้ทำหน้าที่อธิบดีต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อนเพื่อวางระบบการวินิจฉัยคดีให้มั่นคง

ขณะที่ นายเกษม คมสัตย์ธรรม ซึ่งเป็นเพียงตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองกลาง สามารถสอบเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดก่อนดร.วรพจน์ที่สอบเข้าไปเป็นตุลาการ ศาลปครองสูงสุดรุ่นที่ 2


แต่ด้วยคำมั่นของ"ผู้ใหญ่"บางคน ทำให้ ดร.วรพจน์เชื่อว่า "ผู้ใหญ่"จะ ทำตามสัญญา ที่จะไม่ถือว่า เรื่องการเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดก่อนหรือหลัง เป็นเหตุในการพิจารณาตำแหน่งตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด


แล้วก็เกิดกรณีปราสาทพระวิหารจนกลายเป็นปมขัดแย้งและร้าวลึก เมื่อศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2551 คุ้มครองชั่วคราวห้ามนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน.2551 ซึ่งเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารเป็นมรดกโลกไปดำเนินการการใดๆ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น


 ดร.วรพจน์ และ ดร.ชาญชัยไม่ เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว โดยเห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองเพราะมติคณะรัฐมนตรีเรื่องนี้เป็นการกระทำในทาง รัฐบาล หรือเรื่องในทางนโยบาย โดยแท้ มิใช่การกระทำทางปกครอง


แต่ความเห็นที่แตกต่างกันอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรขึ้น แต่ในฐานะนักวิชาการที่สอนกฎหมายด้วย มีการนำคำสั่งไปวิพากษ์วิจารณ์ในห้องเรียนสร้างความไม่พอใจให้"ผู้ใหญ่"บาง คน


ต่อมาเมื่อศาลปกครองสูงสุดคณะที่ 1 ซึ่งมี ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง ยิ่งทำให้ปมความขัดแย้งขยายใหญ่ขึ้น


เนื่องจาก มีกระแสข่าวเกิดขึ้นมากมายตั้งแต่เรื่อง คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลางออกมาในเวลาตีสอง ซึ่งทำให้สงสัยว่า ทำไมองค์คณะจึงทำงานกันกลางดึกเช่นนั้น  การเปลี่ยนองค์คณะ แต่ไม่มีใครยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่า เป็นอย่างไร


น่าเสียดายว่า ศาลปกครองมิได้ชี้แจงและนำเอกสารหลักฐาน เช่น การจ่ายสำนวน กระบวนพิจารณาคดีชี้แจงต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใส  กระแสข่าวดังกล่าวจึงเป็นเรื่องอึมครึมที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในแวดวง วิชาการกฎหมาย


หลังจากเกิดกระแสข่าวดังกล่าวได้เกิดสภาพหวาดระแวงขึ้นในศาลปกครอง โดย"ผู้ใหญ่"บางคนมองว่า มีการนำเรื่องภายในไปปูดข้างนอก แน่นอนว่า ทั้งดร.วรพจน์และ ดร.ชาญชัย  ถูกเพ่งเล็งอยู่ด้วย


กอปรกับช่วงการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในสำนักงานศาลปกครอง จึงมีการขุดเรื่องเก่าเกี่ยวกับการจ้างสถาบันพระปกเกล้าทำวิจัยเรื่อง"สัญญาทางปกครอง"และ "คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล"ตั้งแต่ ช่วงก่อตั้งศาลใหม่ๆขึ้นมาเล่นงานตุลาการศาลปกครองสูงสุดบางคนโดยส่งเรื่อง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)สอบโดยอ้างว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งๆที่เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าว มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดว่า จ้างบุคคลใดทำวิจัย ใครเป็นที่ปรึกษาซึ่ง "ผู้ใหญ่"เองก็รับรู้ข้อมูลนี้มาตลอด


แต่ทำไมเพิ่งนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาแต่งตั้งตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด


จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการสกัดบุคคลที่มีความเห็นแตกต่างกันในหลักการพิจารณาคดีและทางการเมือง


หลังการลาออกของ ดร.วรพจน์ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 มีความเคลื่อนไหวจากตุลาการจำนวนหนึ่งทำหนังาอถึงประธานศาลปกครองสูงสุดให้ ยับยั้งการลาออกดังกล่าว


อีกไม่กี่วันคงจะรู้ว่า ดร.อักขราทรจะตัดสินใจอย่างไรและอาจเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบว่า อนาคตของศาลปกครองจะเป็นอย่างไร

 




--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จับตา "คดีความ" เกาะกิน "สนธิ ลิ้มทองกุล" หลุมพรางสกัดทางขึ้นนั่งเก้าอี้ "หน.พรรคการเมืองใหม่"


วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:18:37 น.  มติชนออนไลน์

จับตา "คดีความ" เกาะกิน "สนธิ ลิ้มทองกุล" หลุมพรางสกัดทางขึ้นนั่งเก้าอี้ "หน.พรรคการเมืองใหม่"
 

สนธิ ลิ้มทองกุล

 

 

กับบทบาทของสื่อมวลชน และแกนนำคนสำคัญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ของ "สนธิ ลิ้มทองกุล" ทำให้ต้องเผชิญกับคดีความต่างๆ มากมาย ซึ่งดูเหมือนจะไม่สมกับความที่เป็นคนจีน ที่มักจะยึดคติว่า "ไม่ค้าความ แต่ขอค้าขาย"

 

อย่างไรก็ตาม "มติชนออนไลน์"  ได้รวบรวมคดีความต่างๆ ที่ "สนธิ" กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ เพื่อประกอบเป็นข้อมูลใช้พิจารณาหากว่า "สนธิ" ตกปากรับคำจะนั่งเก้าอี้ "หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่" ในวันที่ 6 ตุลาคมนี้

 

- 2 ตุลาคม 2552 ศาลอาญาสั่งจำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา คดีหมิ่นประมาท "นพดล ปัทมะ" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรณีเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2550 กล่าวหานายนพดลว่าทรยศต่อทุนมูลนิธิมหิดล เพราะไปเป็นพยานให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ รวมทั้งสั่งปรับบริษัท ไทยเดย์ ดอดคอม จำกัด ผู้ผลิตรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และบริษัท เมเนเจอร์ จำกัด ผู้ดูแลเวปไซด์ผู้จัดการแห่งละ 2 หมื่นบาท กรณีที่ทั้ง 3 ร่วมกันหมิ่นประมาท

 

- 11 กันยายน 2552 ศาลอุทธรณ์ ตัดสินจำคุก 6 เดืนอไม่รอลงอาญา ในคดีหมิ่นประมาท "ภูมิธรรม เวชชยชัย" อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและอดีตรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย กรณีเมื่อที่ 25 พ.ย.2548 กล่าว หาว่านายภูมิธรรมเป็นอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่เคารพสถาบันกษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง อย่างไรก็ตาม คดีนี้ในศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในชั้นศาลอุทธรณ์จึงเป็นเสมือนการลดโทษให้จำเลย

 

- 10 กันยายน 2552 ศาลอาญา พิพากษาจำคุก 2 ปี ในคดีหมิ่นประมาท ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรณีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 กล่าว หาว่าได้กระทำการล้างมลทินให้กลุ่มอำนาจเก่าปล่อยให้มีการออกสลากบนดิน 2 ตัวขัดต่อกฎหมาย และยังช่วยเหลือนายศิโรตม์ สวัสดิพาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร ที่ไม่ตรวจสอบการขายหุ้นแอมเพิลริชให้กลุ่มทุนเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ และปกป้องผู้กระทำผิดกรณีที่ปล่อยให้มีการโอนหุ้นชิน บมจ.ชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษี รวมทั้งมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธนาคารกสิกรไทย

 

ส่วนคดีที่ยังไม่มีคำตัดสินของศาล อาทิ

 

- คดีที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้องในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2551 นายสนธินำคำปราศรัยจาบจ้วงสถาบันของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งถูกศาลพิพากษาจำคุก 8 ปี มาเผยแพร่ซ้ำบนเวทีพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ส่วนความคืบหน้าของคดี อัยการได้นัดฟังคำสั่งคดีในวันที่ 17 พ.ย. 2552 นี้

 

- คดีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องหมิ่นประมาท กรณีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 กล่าวหาว่าได้วางแผนโค่นล้มสถาบัน โดยมี น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และ บจก.แมเนเจอร์ ฯ เป็นจำเลยที่ 1-3

 

- คดีในฐานะแกนนำพันธมิตรฯ โดย บก.น.1 เรียกมารับทราบข้อกล่าวหาแต่นายสนธิไม่มา ใน ความผิดฐานบุกรุกทำเนียบรัฐบาล, หมิ่นประมาทนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

เหตุ(ร้าวลึก!)เกิดที่ศาลปกครอง

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:30:25 น.  มติชนออนไลน์

เหตุ(ร้าวลึก!)เกิดที่ศาลปกครอง

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์ 
 

ดร.อักขราทร จุฬารัตน์

 

เป็นการช็อคแวดวงวิชการกฎหมายมหาชนอย่างมาก เมื่อ  ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ซึ่งมีโอกาสดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดในอนาคตอันใกล้ได้ยื่นใบลาออก จากตุลาการศาลปกครองสูงสุดอย่างกระทันหันโดยให้มีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552


แม้การลาออกของ ดร.วรพจน์ เมื่อดูผิวเผินแล้วอาจจะเป็นผลมาจากกรณีที่   ดร.วรพจน์และนายชาญชัย แสวงศักดิ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกคนหนึ่งพลาดจากตำแหน่งตุลาการหัวหน้าคณะในศาล ปกครองสูงสุดซึ่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(กศ.ป.)มีมติแต่งตั้งไปเมื่อวัน ที่ 25 กันยายน 2552 จำนวน 3 ตำแหน่งโดยบุคคลทั้งสองรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมมีการข้ามอาวุโสและเป็นการผิดข้อตกลงบางประการ


แต่ความจริงแล้ว ปรากฎกาณณ์ครั้งนี้อาจเป็น สะท้อนอาการร้าวลึกของศาลปกครองที่เริ่มปรากฎขึ้นมาตั้งแต่ศาลปกครองกลางมี คำสั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2551 คุ้มครองชั่วคราวห้ามนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน.2551 ซึ่งเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารเป็นมรดกโลกไปดำเนินการการใดๆ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น


คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว นอกจากเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในแวดงวงวิชาการแล้ว แม้แต่ในแวดวงศาลปกครองเอง ตุลาการระดับสูงจำนวนหนึ่งซึ่งในจำนวนนี้มี  ดร.วรพจน์ และนายชาญชัย ไม่เห็นด้วยอย่างมาก โดยเห็นว่า เรื่อง ดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองเพราะมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้เป็นการ กระทำในทางรัฐบาล หรือเรื่องในทางนโยบาย โดยแท้ มิใช่การกระทำทางปกครอง


ในการวิการวิพากษ์วิจารณ์มีการหยิบยกกรณีคดีข้อตกลงทางหุ้นส่วน เศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับไทยหรือเจเทปป้าที่ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำสั่งไม่ รับเรื่องไว้พิจารณาด้วยเหตุผลว่า ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองเนื่องจากเป็นการกระทำในทางรัฐบาลมาเป็นบรรทัด ฐาน


ต่อมาคณะรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งศาลปกครองสูสุดคณะที่ 1 ซึ่งมี ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ มีคำสั่งเมื่อ 11 กันยายน 2551 ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง


ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลโดยสรุปว่า แถลงการณ์ร่วมฯอาจ ก่อให้เกิดความความแตกแยกกันในด้านความคิดเห็นของคนในสังคม และอาจก่อให้เกิดวิกฤติสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ประเทศกัมพูชา ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง แถลงการณ์ร่วมจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย


ดังนั้นหากดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ดังกล่าว ก็จะมีผลเสียหายและกระทบต่อประเทศชาติโดยรวมและสิทธิของประชาชนได้ จึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของประเทศและประชาชนโดยรวม


เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดคณะที่ 1 ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธาน 2 คน และตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุดอีก 4 คน รวม 7 คน (องค์คณะปกติมีตุลาการ 5 คน และมีหัวหน้าคณะ 1 คน) การใช้องค์คณะที่ 1 พิจารณาคดีดังกล่าว เป็นครั้งแรกนับแต่จัดตั้งศาลปกครองมา 8 ปี น่าจะเป็นเพราะผู้บริหารศาลให้ความสำคัญกับคดีนี้อย่างมาก


แต่การให้ความสำคัญกับคดีนี้มากเป็นพิเศษ โดยให้เหตุผลเน้นในเรื่องผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติในมุมมองหนึ่ง อาจทำให้อีกมุมมองเห็นว่า เป็นการละเลยหลักการทางวิชาการ และอาจมีผลกระทบต่อความยุติธรรมได้


ที่สำคัญเกรงว่า จะทำให้ศาลปกครองถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถือหางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนอาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของศาลที่เคยสร้างบรรทัดฐานในการพิพากษาคดี สำคัญมาแล้วเป็นจำนวนมาก


กรณีดังกล่าวทำให้เกิดกระแสข่าวมากมายเกี่ยว กับการบริหารจัดการด้านคดีที่ยังไม่มีใครทราบข้อเท็จจริงว่า แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เพราะกระแสข่าวดังกล่าว ถ้าเป็นจริงถือเป็นร้ายแรงอย่างมากในกระบวนการยุติธรรม


หลังจากคดีดังกล่าวในทางเปิดเผยได้เกิดวิวาทะกันอย่างระหว่าง ดร.อมร จันทรสมบูรณ์  อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษาใหญ่ศาลปกครองกับกลุ่มนักวิชาการกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อย่างต่อเนื่อง


ขณะเดียวกันได้เกิดสภาพมึนตึงได้เกิดขึ้นในศาลปกครองที่ผู้บริหารศาลบางคนมองว่า มีกรณี"ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า "จึงเกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันมานับแต่บัดนั้น


ด้วยเหตุนี้เมื่อ ดร.วรพจน์ลาออกอย่างกระทันหัน จึงถูกมองว่า อาจจะเป็นผลพวงจากความสขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาจากปมปราสาทพระวิหาร


ประเด็นที่น่าจับตามองคือ หลังจากการลาออก  ดร.วรพจน์ ผู้บริหารศาลปกครองจะสรุปบทเรียนใอย่างไร เพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือศรัทธาของสถาบันแห่งนี้



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

"โอ๋สืบ6"ฟ้อง5ป.ป.ช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ศาลไต่สวน 14 ธ.ค ส.ส.-ส.ว.เอาด้วยฟ้องให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:00:00 น.  มติชนออนไลน์

"โอ๋สืบ6"ฟ้อง5ป.ป.ช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ศาลไต่สวน 14 ธ.ค ส.ส.-ส.ว.เอาด้วยฟ้องให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

ศาล อาญา รับคำฟ้อง"โอ๋สืบ6" กล่าวหา ป.ป.ช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ศาลนัดไต่สวน 14 ธ.ค.นี้ ส่วน ส.ส.-สว.ร่วมยื่นฟ้อง ป.ป.ช.ต่อศาลแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ย้ำ ป.ป.ช.ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญ ม.249 ตั้งแต่ 16ก.ย.ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) รายงานข่าวแจ้งว่า พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง หรือชื่อเดิม พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา หรือ"โอ๋ สืบ6" ได้ให้ทนายความยื่นฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.).และคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. ประกอบไปด้วย
1. นายวิชา มหาคุณ              กรรมการ ป.ป.ช.และประธานอนุไต่สวน
2. นายต่อตระกูล ยมนาค         อนุไต่สวน
3. พล.ต.ต.ณพรรษ เย็นสุดใจ    อนุไต่สวน
4. นายโกศล ขำศิริ                อนุไต่สวน
5. นายณัฐวุฒิ ขมประเสริฐ       อนุไต่สวน


ที่ศาลอาญารัชดา กทม. เมื่อวันที่ 21กันยายน2552ตามคดีเลขดำที่ อ.3403/2552 ลง21กันยายน 2552 ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 90,91และ157 และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 31,125


รายงานข่าวแจ้งว่า ต่อมา เมื่อวันที่ 1ตุลาคม 2552 องค์คณะผู้พิพากษาศาลอาญา ได้มีคำสั่งรับคำฟ้องไว้ โดยนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 เวลา 0900 น.ที่ศาลอาญาและมีคำสั่งให้สำเนาหมายแจ้งให้จำเลยทั้ง 5 คนทราบ ซึ่งการฟ้องคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในครั้งนี้ พ.ต.อ.ธนายุตม์ ให้เหตุผลว่า เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเพื่อเป็นการปกป้องเกียรติยศศักดิ์ศรีของตนเองและครอบครัว และเป็นการปกป้องศักดิ์ศรีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนปกป้องเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของข้าราชการตำรวจในภาพรวมทั้งหมดที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการ ไต่สวนและชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช.


รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในเรื่องเดียวกันนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จำนวน 1ใน 5 ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อส่งเรื่องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อไต่สวนดำเนินคดีอาญากับคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในข้อหากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ราชการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 249 เมื่อวันที่ 16กันยายน 2552 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน2552 ประธานวุฒิสภาได้ยื่นเรื่องส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ดำเนินการไต่สวนดำเนินคดีอาญากับคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะ


สำหรับ มาตรา 249 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภา มีจำนวน 1ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ ให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้วให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาของผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา กรรมการ ป.ป.ช.ผู้ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ระหว่างนั้นมิได้ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ยกคำร้องดังกล่าว