อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ถอดบทเรียนกรณีชาวบ้านปางแดงกับผืนป่า : มองหาสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ในสังคมไทย (2)

ถอดบทเรียนกรณีชาวบ้านปางแดงกับผืนป่า : มองหาสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ในสังคมไทย (2)

 

 
เมื่อเอ่ยถึง ‘ปาง แดง’ เชื่อว่าหลายคนที่สนใจในเรื่องประเด็นสิทธิมนุษยชน คงจะรู้จักและคุ้ยเคยกันดี เนื่องจากเป็นกรณีตัวอย่างที่เกิดเหตุการณ์ เมื่อชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐหลายร้อยนาย ได้สนธิกำลังเข้าปิดล้อมและจับกุมชาวบ้านปางแดงซ้ำซาก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งทำให้สังคมมองว่า เป็นการจับกุมแบบเหวี่ยงแห และถือว่าเป็นละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
 
และเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2552 ที่ผ่านมา ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีเวทีสาธารณะนำเสนอประสบการณ์และบทเรียนการแก้ไขปัญหาชุมชนบ้านปางแดง ซึ่งมีประเด็นน่าสนใจ น่าศึกษาวิเคราะห์และหาทางออกร่วมกัน ‘ประชาไท’ จึงขอนำมารายงานไว้ตรงนี้
 

 
ภาพการจับกุมชาวบ้านปางแดง สะท้อนผ่านสื่อว่าสิทธิมนุษย์กำลังถูกทำลาย
 
นายสุมิตรชัย หัตถสาร ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น1 ใน 7 ทีมทนายความคดีปางแดง ได้บอกเล่าถึงเหตุการณ์การจับกุมและการชุมนุมของชาวบ้านปางแดง ที่หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนั้นว่า หากย้อนกลับไปในเหตุการณ์ช่วงนั้น จะเห็นภาพของชาวบ้านปางแดงทุกคน ทุกครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นลูก เมีย หรือว่าคนในหมู่บ้านเอง ต่างพากันไปอยู่ที่ศาลากลางทั้งหมด เป็นการชุมนุมในระยะเวลา 1 เดือนเต็มๆ ท่ามกลางฝนตกหนักตลอดเวลา แต่ชาวบ้านปางแดงก็ยังคงรวมตัวกันอยู่ตรงนั้น
 
“ทำให้ทุกคน เหมือนรู้ว่าสิทธิโดยความเป็นมนุษย์มันกำลังถูกทำลาย กำลังถูกละเมิด ซึ่งสิ่งเหล่านั้น ก็เป็นการฟ้องต่อที่สาธารณะทั้งหมด เพราะตอนนั้นข่าวของปางแดงก็กระจายไปทั่ว”
 
 
 
ทุกอย่างเริ่มผ่อนคลาย หลังคดีเข้าสู่กระบวนการของศาล
ร้องต่อศาลขอไต่สวนคำร้องการจับกุมมิชอบ - ประกันตัว
 
นายสุมิตรชัย บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของกระบวนการศาล จนนำไปสู่การประกันตัวชาวบ้าน ว่า ระหว่างที่มีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอไต่สวนคำร้องการจับกุมมิชอบ ซึ่งเมื่อศาลเห็นคำร้องก็รู้แล้วว่าปัญหานั้นคืออะไร และศาลก็เรียกทีมทนายทั้งหมดเข้าไปคุย หลังจากพูดคุยเสร็จเรียบร้อย ศาลอนุญาตให้ประกันตัว แต่ปัญหาต่อไปอยู่ที่ชาวบ้านยากจน ไม่มีหลักทรัพย์ ไม่มีข้าราชการที่ไหนจะเข้ามาประกันตัว แล้วจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร
 
“ตอนนั้น ทางศาลได้สอบถามว่าทีมทนายมีทั้งหมดกี่คน และเราก็บอกไปว่า ทีมทนายมีทั้งหมด 7 คน ซึ่งมาทำคดีนี้ จากนั้นทางหัวหน้าศาลก็ให้ใช้ทนายทั้ง 7 คนไปเตรียมเอกสารมา หลังจากนั้น หัวหน้าศาลได้อนุญาตปล่อยตัวชาวบ้านจำนวน 47 คน โดยใช้ตำแหน่งทนายความทั้ง 7 คน ซึ่งนี่ก็เป็นอีกมิติหนึ่งของการต่อสู้กับพี่น้องปางแดง ถือว่าเป็นความโชคดีที่ทางศาลอนุญาตให้พี่น้องชาวบ้านปางแดงได้มีการประกัน ตัวและกลับบ้านไป”
 
เผยยอมถอนคำร้องจับกุมมิชอบ แลกกับอิสรภาพของชาวบ้าน
 
ในเวทีวัน นั้น มีการพูดคุยกันถึงการยอมถอนคำร้องว่าเจ้าหน้าที่จับกุมมิชอบ ด้วยว่า หลังจากคดีนำไปสู่กระบวนการของศาล โดยทีมทนายความยอมขอถอนคำร้องการจับกุมมิชอบต่อศาล พื่อแลกกับอิสรภาพของพี่น้องชาวบ้านปางแดงทั้ง 47 คน
 
“ใจหนึ่งก็ อยากที่จะสู้เพื่อให้เรื่องทั้งหมดนั้นกระจ่างว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ นั้นผิดหรือถูกอย่างไร แต่อีกใจหนึ่ง ก็สงสารพี่น้องชาวบ้านปางแดงที่อยู่ในเรือนจำ ทำให้ผมเองคุยกับทางทีมทนายกันว่าควรจะเอาอิสรภาพของพี่น้องปางแดงก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากัน ก็เลยตัดสินใจยอมถอนคำร้องไต่สวนจับกุมมิชอบเพื่อแลกกับอิสรภาพของพี่น้อง ชาวบ้าน นั่นเป็นที่มาของการได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นการดำเนินคดีก็เข้าสู่กระบวนการดำเนินการของศาล”
ปางแดง คือบทเรียนของกระบวนการยุติธรรมกับส่วนราชการ
 
ด้าน พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน อดีตประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคณะกรรมการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ลงพื้นที่ปางแดง เพื่อรับทราบปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หลังเกิดเหตุการณ์ พี่น้องปางแดงโชคดีตั้งแต่กระบวนการยุติธรรมในศาล โชคดีที่มีทีมทนายที่เป็นทีมที่เห็นใจมนุษย์ เห็นใจชุมชน รวมทั้งยังมีทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนที่อยู่ใกล้เคียงได้เข้ามาดูแล 
 
พลเอกสุรินทร์ ได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ กรณีชาวบ้านปางแดง กับชาวเลที่หาดราไวย์ (ชุมชนราไวย์ตั้งอยู่บริเวณใกล้หาดราไวย์ หมู่ที่ 2 ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นชุมชนของชาวมอแกนและอูรักลาโว้ย)ว่าล้วนถูกกระทำไม่แตกต่างกัน
 
“หากรัฐมองคน เหล่านี้เป็นคนที่ผิดกฎหมาย รัฐก็คงมีหน้าที่ 2 อย่าง คือ กรณีชาวเลราไวย์ ก็ทำแพ แล้วเอาคนลงแพ แล้วลากจูงปล่อยไปทิ้งทะเล หรืออีกทางหนึ่งคือ ให้เขาอยู่ชอบโดยกฎหมายและมีความมั่นคง กรณีปางแดงก็เหมือนกัน หากรัฐมองคนเหล่านี้เป็นคนที่ผิดกฎหมาย รัฐก็คงมีหน้าที่ 2 อย่างคือ จับชาวบ้านทั้งหมดขึ้นรถและส่งกลับไปพม่าที่เดิม หรือให้เขาอยู่อย่างมีความมั่นคง ซึ่งชาวบ้านทั้งหลายไม่ใช่หมูหมา กาไก่ แต่ที่เราทำทุกวันนี้เป็นเหมือนอย่างหมู หมา กา ไก่ ที่จะทำอะไรก็ได้ ซึ่งเราเองก็ทนไม่ได้ แม้กระทั่งตัวผมเองก็ยังทนไม่ได้ ผมทนต่อความอยุติธรรมไม่ได้มาตั้งแต่เล็กแต่น้อยแล้ว ผมเองเป็นทหารนอกแถวที่ไม่ยอมรับความไม่เป็นธรรมเด็ดขาด”
 
พลเอกสุรินทร์ ได้สรุปบทเรียนกรณีปางแดง ว่าได้รับบทเรียนเยอะมาก โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม 
 
“ก็ยังมี เครื่องหมายคำถามอยู่บ้าง ถึงแม้ว่าจะมีความเมตตาอยู่ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่ศาล แต่เริ่มตั้งแต่ตำรวจเลย ตำรวจ การจับกุม ไปเรื่อยๆจนถึงศาล ก็มีคำถามที่เป็นขั้นเป็นตอนอยู่เหมือนกันว่า โปร่งใสจริงไหม นี่ยังเป็นคำถามอยู่ ถามว่าเมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ทำอย่างไรถึงจะให้คำถามเหล่านั้นคลี่คลายลงหรือน้อยลง”
 
พลเอก สุรินทร์ ยังได้วิพากษ์ระบบราชการ ด้วยว่า เมื่อพูดถึงภาคราชการ หากย้อนยุคไปถึงสมัยกรมพระยาดำรงราชานุภาพโดยการใช้คำพูดของท่านว่า “ราชการของเรามีหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”ถ้าทุกภาคส่วนร่วมกันทำงานกันอย่างจริงจังแล้วคงไม่เกิดเหตุการณ์ เหมือนกับกรณีปางแดง 
 
“แต่ว่าบท เรียนที่ได้คือ ราชการเราไม่ทำอย่างนั้น ถามว่าเหตุจากอะไร ส่วนหนึ่งราชการบางคนก็อยากจะทำ อย่างน้อยๆก็เพราะด้วยระบบของราชการที่ไม่เอื้อ ตัวกฎหมายบางตัวที่ออกมาภายหลังนั้นไม่เอื้อ โครงสร้างกระบวนการบริหารของส่วนราชการไม่เอื้อ และนี่เป็นบทเรียนที่ว่าทางราชการควรหรือยังที่จะหันมาดูระบบของตนเองว่า สมควรที่จะมีการแก้ไข ปรับปรุงระบบราชการ ณ วันนี้หรือไม่ ต้องหันลงมาดูอย่างจริงจังแล้ว ถ้าไม่งั้นจะเกิดปัญหามากยิ่ง ขึ้น”                                                    
 
กลุ่มทุนการเมืองเกิดความเข้มแข็งขึ้น แต่ระบบราชการนั้นอ่อนแอ
 
ประธาน กรรมการบริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ยังมองว่า กลุ่มทุนภาคการเมือง ภาคราชการและบางกลุ่มนั้นเกิดความเข้มแข็งขึ้น แต่ตัวราชการที่จะใช้จริงๆนั้นเกิดการอ่อนแอลง ไม่สามารถที่จะวางแผนพัฒนาร่วมกับประชาชนอย่างแท้จริงได้ 
“ผมมองอย่างนั้นก็ด้วยความอ่อนแอทั้งกระทรวง มีทั้งตัวข้าราชการ พนักงาน ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการ ทำให้เกิดความอ่อนแอมากขึ้นอีก”
เสนอให้ปางแดง เป็นกรณีศึกษาจัดระเบียบปัญหาที่ดินชุมชนในเขตป่าทั่วประเทศ
พลเอกสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ควรมีการจัดระเบียบ จัดการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตป่ากันใหม่ทั้งประเทศ เหมือนกับการแก้ไขปัญหาบ้านปางแดง(‘โครงการ บ้านมั่นคงชนบทชุมชนบ้านปางแดง’ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ราษฎรในชุมชนบ้านปางแดงให้มีหลัก ประกันได้รับความมั่นคงในชีวิต ตามสิทธิมนุษยชน พัฒนายกระดับให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ และได้รับการรับรองฐานะอย่างเหมาะสมโดยชอบตามกฎหมายต่อไป)
“กรณี อย่างนี้ ไม่ใช่มีแค่ปางแดง ไม่ใช่ว่าจะมีเฉพาะที่เชียงดาวเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายๆพื้นที่ ในเชียงใหม่ ในประเทศไทย ที่เป็นอย่างนี้ ที่มีปัญหาเหมือนกัน ทำนองเดียวกัน เราก็ต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยการที่เราต้องเอาทุกภาคส่วนมาร่วมในการแก้ไข ปัญหาร่วมกัน ผมถือว่าเรื่องนี้เป็นแค่เริ่มต้น เป็นบทเรียนที่ทุกภาคส่วนต้องมีการหันหน้ากันเข้ามาจับมือกันอย่างแท้จริง และแก้ไขปัญหาได้”
 
โปรดติดตามตอนต่อไป...
 

 

 



--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น