อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

คดีหวยออนไลน์"จาโก้" ถูกใจ แต่(อาจ)ไม่ถูกต้อง ..รัฐบกพร่อง เอกชนรับบาป ต่อไปใครจะลงทุน ?





ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ บก.ใหญ่ www.pub-law.net


วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 15:10:28 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คดีหวยออนไลน์"จาโก้" ถูกใจ แต่(อาจ)ไม่ถูกต้อง ..รัฐบกพร่อง เอกชนรับบาป ต่อไปใครจะลงทุน ?

เชื่อหรือไม่ ?คำพิพากษาหวยออนไลน์ มีความน่าสนใจกว่า คำพิพากษาคดียึดทรัพย์ทักษิณ ? เมื่อศาลฎีกาตัดสินให้กองสลาก ฯไม่ต้องจ่ายค่าโง่ให้ "จาโก" เราเชิญชวนให้ท่าน อ่านบทวิเคราะห์ทางวิชาการ ต่อไปนี้...

    แน่นอนว่า  ผลคำพิพากษา ไม่ต้องจ่ายค่าโง่  อาจสร้างความพอใจให้กับประชาชนผู้เสียภาษี และกองสลากฯ     แต่เมื่อพินิจพิเคราะห์"เนื้อใน"แล้ว อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐ กลายเป็นบาปเคราะห์ของเอกชน ????

                  ... ก่อนที่จะมีการอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพียง 2 วัน
        24 กุมภาพันธ์    ศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษากรณีบริษัท จาโก จำกัด ยื่นฟ้องสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยตัดสินว่า สัญญาระหว่างบริษัท จาโก จำกัด กับ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา
         ล่าสุด ศ. ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ วิเคราะห์คำพิพากษา คดีหวยออนไลน์ และตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้
     @ ความเป็นมาของคดีหวยออนไลน์"จาโก"
        “สาระ” ของคำพิพากษามีว่า   สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลทำสัญญาแต่งตั้งบริษัท จาโก จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติ กำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันเริ่มจำหน่ายสลาก ในสัญญาดังกล่าวระบุว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาด
        ต่อมาภายหลังการทำสัญญา สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามสัญญา บริษัท จาโก จำกัด จึงได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ซึ่งอนุญาโตตุลาการก็ได้มีคำชี้ขาดให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลชดใช้ค่า เสียหายจำนวน 2,508,593,718 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 มกราคม 2543 จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ บริษัท จาโก จำกัด จึงได้ยื่นฟ้องเรื่องดังกล่าวต่อศาลแพ่ง
      ในชั้นการพิจารณาของศาล สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีข้อต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวหลายประการในการที่ตน เองไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
       ข้อต่อสู้ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องมาจากสัญญาระหว่างสำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัท จาโก จำกัด ต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการใน กิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ)
       นั่นหมายความว่า   ต้องได้รับการอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรีก่อน แต่ในกรณีดังกล่าวมิได้มีการเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติตาม ขั้นตอน สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ไม่ผูกพันคู่สัญญา
       ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วก็ได้พิพากษาให้สำนักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาลปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คือ จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่บริษัท จาโก จำกัด ตามจำนวนข้างต้น
        เนื่องจากพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 บัญญัติถึงเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นกรณีที่คำพิพากษาฝ่าฝืนต่อ กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนว่าให้ อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
     สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจึงได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548
   @ เหตุใดอัยการไม่ทักท้วงประเด็นพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
     ศาลฎีกาได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในประเด็นที่สำคัญหลายประเด็น
     แต่ประเด็นหนึ่ง ก็คือ  สัญญาระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัท จาโก จำกัด ไม่ได้ผ่านกระบวนการดังกล่าว จึงกลายมาเป็นข้อโต้แย้งถึงความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาหวยออนไลน์    
    ในชั้นการพิจารณาของศาลฎีกา บริษัท จาโก จำกัด ได้ต่อสู้ในประเด็นเรื่องของการที่สัญญาดังกล่าวไม่ผ่านกระบวนการตามพ .ร.บ.ร่วมทุนฯ ว่า ในเรื่องดังกล่าว ทั้งผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและหัวหน้าสำนักกฎหมายของสำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาลให้การสอดคล้องกันว่า ในการยกร่างสัญญา
     กรรมการคนหนึ่งของคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลที่เป็นผู้แทนของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาร่างสัญญาดังกล่าว
     อีกทั้งสัญญาก็ยังต้องผ่านการพิจารณาโดยกองกฎหมายของสำนักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาลและต้องให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
     จากนั้นก็ได้ส่งร่างสัญญาดังกล่าวให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้ง หนึ่ง ก็ไม่ปรากฏว่ามีการทักท้วงหรือท้วงติงว่ากระบวนการทำสัญญาดังกล่าวขัดต่อ กฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐแต่อย่างใด !!!
     ศาลฎีกาได้พิจารณาถึงพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แล้ว มีความเห็นว่า กิจการจำหน่ายสลากและจ่ายรางวัลสลากการกุศลแบบอัตโนมัติเป็นกิจการที่เข้า ลักษณะเป็น “กิจการของรัฐ” ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ  และมีลักษณะเป็น “โครงการ” ตามกฎหมายดังกล่าว
    สัญญาระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัท จาโก จำกัด จึงเป็นสัญญาที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
      ศาลฎีกาได้ให้ “คำตอบ” ของการที่โครงการดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไว้ว่า
    การที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณา ตรวจร่างสัญญา และสำนักงานอัยการสูงสุดในขั้นตอนการตรวจร่างสัญญาเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า สัญญาดังกล่าวมิได้เป็นสัญญาที่อยู่ในบังคับของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ  จึงมิได้ทักท้วงหรือท้วงติง
    โดยไม่ปรากฏว่าในขั้นตอนของการดำเนินการเกี่ยวกับการทำสัญญาดังกล่าวมีการ กระทำหรือละเว้นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หามีผลทำให้สัญญาซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นสัญญาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ กลายเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายดังกล่าว
   การไม่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ส่งผลทำให้สัญญาระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัท จาโก จำกัด เป็นสัญญาที่ไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาและย่อมส่งผลทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการ ระงับข้อพิพาทโดยเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาดไม่มีผลบังคับใช้ ไปด้วย
   คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจ่ายเงินให้ บริษัท จาโก จำกัด จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น
    ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้สำนักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาลจ่ายเงินจำนวน 2,508,593,718 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 มกราคม 2543 จนกว่าจะชำระเสร็จ
 @ ผลตัดสินถูกใจ แต่อาจไม่ถูกต้อง ???
    ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องนี้ก็คือการที่ศาลฎีกาพิจารณาว่า สัญญาระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัท จาโก จำกัด เป็นสัญญาที่ต้องอยู่ภายใต้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ซึ่ง ศาลฎีกาก็ได้ “ชี้ชัด” ลงไปแล้วว่าสัญญาดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว
     ส่วนผลของการไม่ทำตามกฎหมายนั้น ศาลฎีกาก็ได้บอกไว้แล้วเช่นกันว่าสัญญาไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา
       เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาเป็นสิ่งที่พึง “หลีกเลี่ยง” เพราะแม้ตั้งใจให้เป็นความคิดเห็นทางวิชาการ แต่ถ้าหากศาลเห็นว่า “ไม่ใช่” โชคร้ายก็กำลังมาเยือน   เพราะฉะนั้น ที่ควรจะต้องทำก็คือ “หยุดแสดงความคิดเห็น” ที่มีลักษณะ “สุ่มเสี่ยง” ไปในทำนอง “วิจารณ์”
     แต่อย่างไรก็ตาม ในเมื่อคำพิพากษานี้ได้ “ให้ข้อคิด” บางอย่างเอาไว้ เราจึงสมควรที่จะต้องมาพิจารณาดูสิ่งที่ได้จากคำพิพากษาดังกล่าว
      ประการแรก เป็นที่น่าปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทย “ไม่ต้องจ่ายค่าโง่” ซ้ำซากให้กับเอกชน ก็ต้องขอขอบคุณศาลที่ช่วยประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชนไปเกือบ 4,000 ล้านบาท
      จริง ๆ แล้วเรื่อง “ค่าโง่” เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลยเพราะอย่างที่ทราบ กว่าสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ เยอะแยะไปหมด แถมตอนท้ายที่สุดก็ต้องให้ “อัยการ” ซึ่งถือกันว่าเป็นนักกฎหมายภาครัฐที่ “เก่งจริง ๆ” เป็นผู้ตรวจสอบในรอบสุดท้าย
    @ แล้วใคร ควรรับผิดชอบ ?
      แต่ทำไม ! สัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนที่มีปัญหา รัฐถึงได้เสียเปรียบทุกทีก็ไม่ทราบ น่าจะมีใครซักคนรวบรวมและวิเคราะห์ดูว่า ที่ผ่านมานั้น รัฐเสียค่าโง่ให้กับเอกชนไปแล้วทั้งหมดเท่าไหร่ แล้วก็ใครเป็นคนตรวจดูความถูกต้องของสัญญาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนสุดท้าย จะได้รู้กันไปเสียทีว่า การเสียค่าโง่นั้นมาจาก “ความบกพร่อง” ในช่วงใดและของใครครับ คงไม่ต้องบอกต่อนะครับว่า     สิ่งที่จะตามมาคืออะไร ควรมีใครสักคนที่ต้อง “รับผิดชอบ” กันบ้างนะครับ !!!
     ประการที่สอง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เป็นกฎหมายพิเศษ เป็นกฎหมายที่เอกชนถือว่าเป็น “ผู้อยู่ใต้การปกครอง” อย่างแท้จริง เพราะเฉพาะหน่วยงานของรัฐเท่านั้นที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวได้ ไม่เชื่อก็ลองไปอ่านดูขั้นตอนของกฎหมายที่ผมสรุปไว้ข้างต้นอีกทีครับ
     หากหน่วยงานของรัฐต้องการทำสัญญากับเอกชนแล้วหน่วยงานของรัฐบอกว่าสัญญาดัง กล่าวไม่ต้องทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ก็หมายความว่า เอกชนไม่มีสิทธิที่จะเลือกอะไรทั้งนั้นนอกจากเลือกทำหรือไม่ทำสัญญากับหน่วย งานของรัฐนั้น ขืนเอกชนไปบอกว่าหน่วยงานของรัฐต้องทำตามกฎหมายดังกล่าวก่อน รับรองได้ว่า เอกชนไม่มีทางได้เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้นแน่ ๆ
     เมื่อหน่วยงานของรัฐบอกว่าไม่ต้องทำตามกฎหมาย ก็ย่อมเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าไม่ต้องทำตามกฎหมาย เอกชนจะไปอวดรู้มากกว่าหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้อย่างไร ครับ!!!
     กรณีหวยออนไลน์นี้ ได้ความเป็นที่ชัดเจนปรากฏอยู่ในคำพิพากษาที่ฝ่ายบริษัท จาโก จำกัด กล่าวอ้างว่า ทั้งผู้อำนวยการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและหัวหน้าสำนักกฎหมายของสำนัก งานสลากกินแบ่งรัฐบาลต่างให้การสอดคล้องกันว่า ในการยกร่างสัญญา กรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้แทนของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็น ผู้พิจารณาร่างสัญญา และร่างสัญญาก็ได้ผ่านกองกฎหมายของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านการตรวจพิจารณาโดยสำนักงานอัยการสูงสุด ก็ไม่ปรากฏว่ามีการทักท้วงหรือท้วงติงว่ากระบวนการทำสัญญาขัดต่อพ.ร.บ.ร่วม ทุนฯ
   ศาลฎีกาก็ได้ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวเอาไว้ว่า กรณีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและสำนักงานอัยการสูงสุดในขั้น ตอนการตรวจร่างสัญญาเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาที่อยู่ใน บังคับของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ  จึงไม่ทักท้วงหรือท้วงติง
     โดยไม่ปรากฏว่าในขั้นตอนของการดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวมีการกระทำ หรือละเว้นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น หามีผลทำให้สัญญาซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นสัญญาที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ กลายเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายดังกล่าวดังที่ บริษัท จาโก จำกัด กล่าวอ้างในคำแก้อุทธรณ์ไม่
  @ ความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เอกชนต้องรับบาป
      ผมเห็นด้วยกับ “เหตุผล” ของศาลที่ว่าการไม่ทำตามกฎหมายเนื่องมาจาก “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ของ “ฝ่ายรัฐ” ไม่ทำให้สัญญาดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายไปได้ แต่ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่า “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ของ “ฝ่ายรัฐ” คือจุดเริ่มต้นของการทำให้สัญญาดังกล่าวไม่ได้ทำตามขั้นตอนและวิธีการของพ .ร.บ.ร่วมทุนฯ
     เพราะฉะนั้น ในส่วนนี้เราจะทำอย่างไรกันดีครับ เพราะการดำเนินการหรือไม่ดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ นั้น ขึ้นอยู่กับ “หน่วยงานของรัฐ” แต่เพียงฝ่ายเดียว
     ต่อแต่นี้ไป เอกชนจะมีหลักประกันอย่างไรในการทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ ของรัฐ สมควรเชื่อหน่วยงานของรัฐหรือไม่ เพราะหน่วยงานของรัฐที่ต้องเป็นผู้ “รับผิดชอบ” ต่อโครงการที่ตนเองต้องจัดทำอาจมี “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ได้นะครับ!!!
         หากเป็นสัญญาตามปกติที่คู่สัญญายังต้องการปฏิบัติตามสัญญาอยู่ ก็คงไม่ลำบากอะไรมากนัก
     เพราะขั้นตอนตรงไหนบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ ก็ไปแก้ไขตรงนั้นให้สมบูรณ์ แต่ในสัญญานี้ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่ต้องการปฏิบัติตามสัญญาตั้งแต่ต้น บริษัท จาโก จำกัด จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย การแก้ไขความบกพร่องของสัญญาให้สมบูรณ์จึงไม่มีประโยชน์อันใด คงเป็นเรื่องค่าเสียหายอย่างเดียวที่จะเป็นประเด็นปัญหาต่อไปอีก “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ที่ศาลฎีกากล่าวไว้คงเป็น “ฐาน” ให้บริษัท จาโก จำกัด เรียกค่าเสียหายอีกแน่ๆครับ !!!
       ประการที่สาม ผมสงสัยจริง ๆ นะครับ ที่ในคำพิพากษาเขียนว่า “สัญญาไม่มีผลผูกพัน” นั้น หมายความว่าอย่างไร เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้นคือเป็นโมฆะหรือไม่ และที่สำคัญก็คือสัญญาไม่มีผลผูกพันนั้นมีที่มาจาก “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
   ดังนั้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะในเมื่อหน่วยงานของรัฐมี “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ในการทำสัญญาจนทำให้ “สัญญาไม่มีผลผูกพัน” ความเสียหายของเอกชนที่มีอยู่ไม่มากก็น้อยใครจะเป็นผู้รับผิดชอบครับ
    และผู้ที่มี “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง จะต้องมีความรับผิดชอบอย่างไรบ้างครับ ใครจะตอบตรงนี้ได้ครับ!!!
   @ สิ่งที่ทำให้นักลงทุนหวาดระแวงในการ “ติดต่อ” กับภาครัฐ
       ประการสุดท้าย เป็นความห่วงใยในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศเรามีปัญหาเกิดขึ้นมากมายที่มีผลกระทบต่อ “ความเชื่อมั่น” ในการลงทุน กรณีเพิกถอนการแปลงสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยย้อนหลังไปตั้งแต่ต้น กรณีมาบตาพุด กรณีทุจริตเชิงนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศหวาดระแวงในการ “ติดต่อ” กับภาครัฐ
      ผมคงไม่ต้องมานั่งแจงนะครับว่าหวาดระแวงอะไรกันบ้างเพราะจากการประมวลดูข่าว ต่าง ๆ ก็พอทราบได้ว่า ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ล้วนแล้วแต่ “ผลิต” สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งนั้น
         ถึงแม้ว่าเราจะรอดไม่ต้องเสีย “ค่าโง่” ให้กับบริษัท จาโก จำกัด แต่ที่กล่าวไปแล้วคงจะพอมองเห็นว่า เราต้องเสียอะไรไปอีกหลายอย่าง เสียความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงานของรัฐที่ตอนทำสัญญาก็ทำกันอย่างดี แต่พออยากเลิกสัญญาก็ยกเอาข้อบกพร่องที่เกิดจากการกระทำของตัวเองมาเป็นเหตุ เลิกสัญญา เสียความรู้สึกที่ดีต่อบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ศาลบอกว่ามี “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน”
    ทั้งๆที่เป็นหน้าที่ของตนเองที่ต้องมี “ความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้อง” เสียความรู้สึกที่ดีที่มีต่อความเชื่อมั่นในการทำงานของหน่วยงานของรัฐและ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว แล้วก็ท้ายที่สุด เราอาจเสียคนจำนวนหนึ่งที่คงไม่กล้าเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพราะ “ระบบ” การทำงานของเราเป็นระบบที่ “ล้าหลัง” แถมยังคุ้มครองหน่วยงานของรัฐและบุคลากรของรัฐอย่างมากเกินไปอีกด้วยครับ !!!
         ในวันที่ประเทศชาติกำลังมีปัญหาและมีความสับสนวุ่นวายทางการเมืองจนทำให้ เศรษฐกิจถดถอย ควรหรือไม่ที่จะ “ช่วยกัน” สร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบ????
   “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อเอกชนโดยภาครัฐไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบ ให้กับประเทศ ให้กับอำนาจนิติบัญญัติ ให้กับอำนาจบริหาร และให้กับอำนาจตุลาการ
         ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาดังกล่าวนะครับ
       แค่อยากจะขอใช้สิทธิในฐานะคนไทยที่ห่วงประเทศชาติห่วงภาคเอกชนที่ได้รับผล กระทบจากการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐต่างๆอย่างที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ และคิดว่าเรื่องประเภทนี้คงไม่เกิดขึ้นในประเทศ อื่นๆเป็นแน่
       อย่าเพิ่งถอดใจหนีไปลงทุนที่อื่นกันหมดนะครับ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1268726308&grpid=no&catid=04

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น