รายงาน : แอบดูนิสิตจุฬาฯ แก้ไขรัฐธรรมนูญ
Thu, 2010-03-04 22:17
เมื่อนิสิตจุฬาฯ ภาควิชาการปกครองปี 3 ร่วมกันจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ พวกเขาเสนอให้นายกฯ จากการเลือกตั้งโดยตรง มีสภาที่ 3 จากวิชาชีพและโควต้าเพื่อแต่งตั้งรัฐมนตรี ให้อำนาจประชาชนทำประชามติล้มคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์อัน นำมาซึ่งความไม่ยุติธรรม
วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ และจะเกิดอีกต่อเนื่องนับจากนี้ มีเหตุสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เกิดจากโครงสร้างทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการเข้าถึงอำนาจของประชาชนที่ไม่เท่ากัน อันมีรัฐธรรมนูญเป็นใจกลางของการออกแบบโครงสร้างนี้
ไม่ว่าปัญหานี้จะได้ดำเนินการแก้ไขหรือไม่แก้ไขอย่างไร และไม่ว่าเรื่องของรัฐธรรมนูญจะถูกเก็บไว้ในลิ้นชัก ที่ไม่ยอมพูดถึง หรือถูกทำให้ไม่ต้องพูดถึง กระทั่งไม่ว่าจะแก้หรือไม่แก้ไข ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันได้เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนชนชั้นหนึ่งๆ อยู่นั่นเอง
“การบ้าน” ของนิสิตจุฬา วิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ ภาควิชาการปกครองชั้นปีที่ 3 เรื่อง “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนิสิตจุฬาฯ กลไกเข้มข้น ประชาชนมีกิน” จึงน่าสนใจ เพราะนอกจากมันจะสะท้อนภาพความคิดของคนในวันเรียนแล้ว มันยังได้กระตุ้นให้สังคมได้รู้ด้วยว่า รัฐธรรมนูญยังเป็นปัญหาที่ไม่อาจจะละเลย และ ใครๆ ก็มีส่วนร่างรัฐธรรมนูญได้
‘ประชาไท’ ได้รับเชิญจาก พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ แห่งรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ให้เข้าไปแอบดู แต่ไม่แอบรายงาน
0 0 0
การแก้ไขรัฐธรรมนูญของ นิสิตฯ ครั้งนี้ เป็นแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางส่วน โดยมีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้รัฐธรรมนูญนั้น ถูกร่างโดยให้ความสนใจเฉพาะด้านการเมือง และใช้แก้ปัญหาได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง จนละเลยและไม่สนใจปัญหาสังคมในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะปัญหาความยากจนและปากท้องของชาวบ้าน หรือแบบแผนความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่ยังไม่มีการถกเถียงกันว่า ชนชั้นล่างจะได้ประโยชน์อะไรจากรัฐธรรมนูญบ้าง
ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ของนิสิตฯจึงเน้นที่การข้ามให้พ้นปัญหา เดิมที่กล่าวมาข้างต้น และไม่ได้แก้ไขที่ตัวระบบหรือตัวนักการเมืองเป็นหลัก แต่พวกเขาได้ให้ความสนใจกับเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะพวกเขามองว่ารัฐธรรมนูญต้องใช้ได้จริงๆ
สำหรับหมวดต่างๆ ที่ถูกแก้ไขนั้น มีดังนี้
หมวดที่1 ทั่วไป นิสิตฯ เสนอว่า รัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยว, ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, ไม่นำเรื่องศาสนามาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ, การรักษาราชการแทนเป็นอำนาจรวมของทั้งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ส่วนการเสนอชื่อพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่, และการสืบราชสมบัติภายใต้หลักอเนกนิกรสโมสรมติ
หมวดที่ 2 พลเมือง เสนอว่า ควรใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก เนื่องด้วยมีความเป็นสากลและเพื่อให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพและไม่ถูกล่วง ละเมิด, พลเมืองมีหน้าที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้, มีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม, ได้รับการจัดสรรทรัพยากรสวัสดิการสังคมจากรัฐที่เพียงพอจากรัฐ, พลเมืองมีสิทธิในการมีส่วนร่วมและหน้าที่ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนของตน, พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ, และพลเมืองมีสิทธิในการพิทักษ์ไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญด้วยสันติวิธี เพื่อมิให้ใครมาล้มล้าง
หมวดที่ 3 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เสนอว่า ควรสร้างระบบสวัสดิการถ้วนหน้า, ลดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยลงโดยใช้ระบบจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้า ภาษีมรดก และภาษีที่ดิน เพื่อนำรายได้มาสร้างสวัสดิการคืนให้ประชาชนทุกคน, สร้างระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้แข็งแกร่ง, กระจายอำนาจให้กับชุมชนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในชีวิตของตนอย่างแท้จริง รวมถึงการยกเลิกระบบภูมิภาค, และเปิดพื้นที่ให้กลุ่มอัตลักษณ์ เพศที่ 3 คนชายขอบ ได้มีสิทธิมีเสียงโดยปราศจากการกีดกัน
หมวดที่ 4 บริหาร เสนอว่า ควรเปลี่ยนคำเรียกชื่อจากคณะรัฐมนตรี เป็น ‘คณะประชามนตรี’, นายกประชามนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน, ประชามนตรี (ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด) มาจากสมัชชาประชาชนเป็นผู้คัดเลือก แต่ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธหรือเสนอรายชื่อใหม่, การพ้นจากตำแหน่ง โดยประชาชนทำประชามติถอดถอนนายกประชามนตรี หรือในกรณีประชามนตรี สภาสมัชชาประชาชนเป็นผู้ถอดออกจากตำแหน่ง, และมีการกำหนดโครงสร้าง หลักการ และกรอบการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้คณะประชามนตรียึดเป็นหลักในการบริหาร ประเทศ
หมวดที่ 5 นิติบัญญัติและรัฐสภา เสนอว่า ควรเป็นรัฐสภา 3 ขา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และสภาสมัชชาประชาชน, เน้นสร้างระบบตัวแทนจากระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง, สภาที่ 3 : ตัวแทนจากชีวิตจริง ระบบโควตา และการจับฉลาก, ระบบการตรวจสอบและกลไกเข้มข้น จากสภาและประชาชน, กระบวนการทางกฎหมายทำได้โดยประชาชนโดยตรง หมวดพลเมืองและนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐใช้บังคับได้โดยไม่ต้องผ่านระบบตัวแทน, การเลือกตั้งและลงประชามติเป็นสิทธิ, และอำนาจที่ลอยหรือกระจายบนอากาศต้องถูกนำมาใช้ได้โดยประชาชน
หมวดที่ 6 ศาล เสนอว่า ศาลต้องเป็นองค์กรที่มีอิสระในการตัดสินคดี ในขณะเดียวกันต้องไม่ไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาตุลา การณ์ภิวัฒน์, ประมุขของแต่ละศาลต้องถูกตรวจสอบจากสภาประชาชน ศาลต้องเป็นองค์ที่มีอิสระและตรวจสอบได้ตามหลักการ Check and Balance, เปิดให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสามารถมีมติเพื่อล้มคำพิพากษาที่ไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์อันนำมาซึ่งความไม่ยุติธรรมได้, เปิดให้ประชาชนสามารถทำประชามติเพื่อล้มคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์อันนำมาซึ่งความไม่ยุติธรรม, และให้สิทธิแก่ประชาชนในการยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยกรณีที่ กฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญในทุกกรณี ซึ่งเมื่อก่อนให้สิทธิเฉพาะแก่คู่ความในคดี และบุคคลในกรณีที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้นั้น
และหมวดสุดท้าย หมวดที่ 7 องค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เสนอว่า องค์กรอิสระมีความเป็นอิสระโดยแท้จริง มีความเป็นกลางทางการเมืองมากยิ่งขึ้น เพิ่มความชอบธรรมในที่มาขององค์กรอิสระด้วยระบบการทำประชามติรับรองจาก ประชาชนทั้งประเทศ, ยกเลิกผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากการปฏิบัติงานมีความซ้ำซ้อนและไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ใน ปัจจุบัน, ยกเลิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากมีความซ้ำซ้อน และเนื้องานไม่มีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ, และยุบรวมองค์กรอิสระที่มีมากเกินไปจนนำไปสู่ความซ้ำซ้อนในการทำงาน เพื่อความมีเอกภาพและทิศทางในการทำงานร่วมกัน โดยรวม ป.ป.ช.และ ค.ต.ง.เข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์กรใหม่ เรียกว่า คณะกรรมการตรวจสอบและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ โดยเน้นเป้าหมายการทำงานในการตรวจสอบการทำงานทั้งนักการเมืองและข้าราชการ
บทวิจารณ์ โดย จรัส-นครินทร์-ไชยยันต์
ในการนำเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ได้ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาวิจารณ์ ซึ่งในมุมมองของอาจารย์หลายท่านที่มีต่อการแก้ไขรัฐธรรมฉบับนี้นั้น ศ.จรัส สุวรรณมาลา คณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตั้งคำถามว่า หมวดที่ 5 ในส่วนตัวแทนที่เป็นของประชาชนจริงๆ นั้น จะมีวิธีการเลือกอย่างไร, หมวดที่ 4 จะควบคุมนายกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงอย่างไร
หมวดที่ 3 ในด้านของรัฐสวัสดิการนั้น จะต้องใช้จำนวนเงินมากแค่ไหนเพื่อให้ครบในทุกด้าน เนื่องจากการเก็บภาษีนั้นมันไม่สามารถทำได้ตามที่ต้องการ เพราะรายได้เฉลี่ยของคนไทยนั้นเป็นรายได้นอกระบบถึง 52 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหมวดที่ 2 และ 1 นั้น หลายส่วนก็ไม่มีปัญหาอะไร
สำหรับ รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอข้อคิดว่า ไม่ควรคิดว่ารัฐธรรมนูญจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง เช่น เศรษฐกิจนอกระบบก็ไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญ, ในการเลือกนายกฯโดยตรงนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่เขตอำนาจของนายกฯอยู่ตรงไหน และถ้านายกได้เสียงข้างน้อยในสภา เขาจะทำงานอย่างไร, นอกจากนั้น รัฐเดี่ยวยังไม่เหมาะสำหรับการเลือกตั้งนายกฯโดยตรง หากต้องการระบบนี้ จำเป็นต้องแก้ไขให้เป็นแบบสหรัฐอเมริกา
และ รศ.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งคำถามกับนิสิตฯว่า การสร้างวัฒนธรรมให้ไล่ตามรัฐธรรมนูญนั้น จะมีที่ไปที่มาอย่างไร, การให้อำนาจประชาชนมากเกินไปจะทัดทานอำนาจของประชาชนอย่างไร และได้เสนอแนะว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถละเมิดรัฐธรรมนูญ และยกตัวอย่างว่า อิตาเลียนสเตทนั้น ล่มสลายเพราะการเลือกตั้งเจ้าเมือง ซึ่งมีคะแนนเสียงที่เท่ากันจึงทำให้ทะเลาะกันตลอด ดังนั้นหากต้องการนายกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ต้องคิดด้วยว่า หากแต่ละฝ่ายได้คะแนนเสียงเท่ากัน จะมีวิธีการตัดสินอย่างไร
--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น