อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเสื่อมด้านจริยธรรมของกรรมการกฤษฎีกา?

วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:30:54 น.  มติชนออนไลน์ Share

ความเสื่อมด้านจริยธรรมของกรรมการกฤษฎีกา?
 

โดยสายสะพาย

 ช่วงนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากแวดวงวิชาการกฎหมายโดยเฉพาะการตีความการใช้มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จนปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดปัญหา 76 โครงงการมาบตาพุดที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐระงับการดำเนินการไว้เป็นการชั่วคราว


ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถึงกับระบุว่า ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎหมายย่อมมีผลผูกพันคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย  แต่ไม่ปรากฏว่า ในการทำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีการหยิบยกคำพิพากษา 2 ฉบับนี้ขึ้นมาถกเถียงกันแต่อย่างใด


นอกจากกรณีนี้แล้ว การแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาชุดใหม่ 108 คน ก็ถูกตั้งคำถามว่า มีการพิจารณาเรื่องจริยธรรมด้วยหรือไม่ เพราะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหม่ซึ่งส่วนใหญ่แต่งตั้งต่อเนื่องจากชุดเดิม(มี 113 คน)ปรากฏว่า มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตเลขาธิการ ก.พ.และนายศุภรัตน์ ควัฒนกุล  อดีตปลัดกระทรวงการคลังรวมอยู่ด้วย


บุคคลทั้งสองถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดกรณีการแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร 3 คนไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดระบุว่า  มีการกำหนดตัวบุคคลไว่ล่วงหน้าแล้วโดยคุณหญิงทิพาวดีถูกกล่าวหาว่า ประมาทเลินเล่อทำให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง


ขณะที่นายศุภรัตน์ถูกกล่าวหาว่า ทุจริตต่อหน้าที่ จึงมีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีความผิดอาญา


ต่อมา อ.ก.พ.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีมติปลดคุณหญิงทิพาวดีออ จากราชการ  ส่วนอ.ก.พ.กระทรวงการคลังมีมติไล่นายศุภรัตน์ออกจากราชการและยังถูกดำเนิน คดีอาญาด้วย


แม้บุคคลทั้งสองยื่นอุทธรณณ์คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม (ก.พ.ค.) แต่ ก.พ.ค. ทำได้เพียงพิจารณาระดับโทษ แต่ไม่สามารถพิจารณาฐานความผิดได้


ดังนั้น กรณีคุณหญิงทิพาวดี  ก.พ.ค.คงต้องยืนมติปลดออกจากราชการ


ขณะที่นายศุภรัตน์ ก.พ.ค.มีโอกาสพิจารณาลดโทษเหลือปลดออกจากราชการได้


ทางออกสุดท้ายคือ การยื่นฟ้อง ก.พ.ค.ต่อศาลปกครองสูงสุด


ประเด็นเรื่องนี้คือ ทำไมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงคัดเลือกบุคคลที่ถูกปลดออกและไล่ออกจากราชการเป็นกรรมกฤษฎีกา แม้ว่า ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 จะไม่มีบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติของกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไว้หรือแม้คดี จะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่ผลการปลดออกและไล่ออกยังมีผลอยู่จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา


การที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งบุคคลทั้งสองสะท้อนให้เห็นสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมกำลังเสื่อมทรามลงหรือไม่?

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1256381597&grpid=no&catid=02

--
http://logistics.dpim.go.th
http://thainews.prd.go.th
http://ncecon5.nida.ac.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น