อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

องค์กรสิทธิมนุษยชนร้อง "มาร์ค" ตรวจสอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าหวั่นมีการเอาเปรียบ-ค้ามนุษย์

องค์กรสิทธิมนุษยชนร้อง “มาร์ค” ตรวจสอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าหวั่นมีการเอาเปรียบ-ค้ามนุษย์

องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่ทำงานในประเทศ ไทย หวั่นแรงงานอาจถูกแสวงประโยชน์-ค้ามนุษย์-ถูกรัฐบาลพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอให้รัฐบาลผลักดันรัฐบาลทหารพม่าให้มีการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 52 ที่ผ่านมา องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนสามองค์กร ประกอบด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติชาวพม่ากว่า 2 ล้านคนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย
 
ในหนังสือร้องเรียนระบุว่า องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งว่า แรงงานอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นจากกระบวนการ ทุจริตเรียกเงิน หรือกระทั่งกระบวนการค้ามนุษย์ และอาจทำให้ครอบครัวแรงงานซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้ยื่นหนังสือถึงผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 และขอถือโอกาสเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานจาก ประเทศพม่าเพื่อให้นายรัฐมนตรีพิจารณา
 
โดยข้อเรียกร้องที่สำคัญคือ เสนอให้รัฐบาลไทยเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์ สัญชาติในประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญคือ ช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น
 
นายสาวิทย์ แก้วหวานเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า ดูเหมือนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติจะเป็นกระบวนการสองมาตรฐาน ในทางหนึ่งแรง งานข้ามชาติสามารถส่งข้อมูลส่วนบุคคลให้ศูนย์ของเอกชนเพื่อพิสูจน์สัญชาติ และจะสามารถได้รับหนังสือเดินทางและวีซ่า ซึ่งใช้เวลาดำเนินการประมาณหนึ่งเดือน หรือในอีกทางหนึ่ง แรงงานจะส่งข้อมูลให้สำนักจัดหางานแต่จะได้รับการตอบรับที่ช้ามาก กระบวนการ ของภาครัฐเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า (600-2,100 บาท) ทว่าหากดำเนินการผ่านนายหน้าอย่างไม่เป็นทางการ ค่าดำเนินการจะสูงกว่าของภาครัฐ โดยไม่มีการควบคุมและราคากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ (ขณะนี้ราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 7,500 บาท) นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐเองยังแนะนำให้นายจ้างใช้นายหน้าเอกชนในการดำเนินการดัง กล่าวอีกด้วย
 
กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มโดยเฉพาะไท ใหญ่รู้สึกหวาดกลัวที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลในการพิสูจน์สัญชาติ เนื่องจากมีข่าวลือว่าจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อครอบครัวของตนเองที่ยังอาศัย อยู่ในประเทศพม่า ทั้งยังมีข่าวลือว่ารัฐบาลทหารพม่าจะฉวยโอกาสนี้จับนัก เคลื่อนไหวทางการเมือง และมีข่าวว่ามีแรงงานข้ามชาติถูกจับกุมระหว่างการเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งยังมีนายหน้าบางส่วนที่รับเงินจากแรงงานข้ามชาติไป แต่ไม่ดำเนินการใดๆ ให้
 
นายสมชาย หอมลออ เลขาธิการมสพ. กล่าวเสริมว่า “มสพ. และองค์กรเครือข่ายจึงขอร้องเรียนให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเร่งตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาตินี้ นอกจากนี้ เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลได้เร่งผลักดันให้รัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้มีการ พิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ รวดเร็วกว่า และสามารถลดการแสวงหาประโยชน์โดยไม่สมควรจากนายหน้า รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยให้กับแรงงานข้ามชาติด้วย”
 
นายสมชาย กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “หากกระบวน การยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเช่นนี้ ก็ดูเหมือนว่าเป็นกระบวนการที่ไร้ประสิทธิภาพ เราเกรงว่าแรงงานข้ามชาติชาวพม่าจะกลายมาเป็นเหยื่อของการแสวงหาประโยชน์อีก ครั้ง ได้รับความเดือดร้อนโดยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และบางทีอาจกลายมาเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เนื่องจากพวกเขาต้องเดินทางไป ยังชายแดนพม่ากับบรรดานายหน้าที่ไม่ได้มีการควบคุมตรวจสอบจากทางราชการ”
 
สำหรับหนังสือร้องเรียนนายกรัฐมนตรีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
 

 
5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
 
เรื่อง การพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
สำเนาถึง 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
5. ประธานคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าว
6. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
7. ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา
8. ประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
9. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
ด้วยองค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน สามองค์กร ประกอบด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ศึกษาและติดตามปัญหาแรงงานข้ามชาติจำนวนประมาณ 2- 3 ล้านคน ซึ่งส่วนมากเป็นแรงงานจากประเทศพม่ามาโดยตลอดนั้น องค์กรทั้งสามขอสนับสนุนนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่มีมติผ่อนผันให้แรงงงานซึ่ง เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมายมีสิทธิอาศัยชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งวางแนวปฏิบัติในการอนุญาตจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นรายปี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เห็นชอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า
 
อย่างไรก็ดี องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 ที่เห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติหลบหนีเข้าเมืองที่ยังคงอยู่นอกระบบ และลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษมีระยะเวลาสองปี สิ้นสุดไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มติดังกล่าวมีผลให้แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าประมาณ 2 ล้านคนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จึงต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติอันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ กว่า 13 ขั้นตอน โดยมีกรมการจัดหางาน สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศของพม่าและของประเทศไทย ศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติประจำประเทศไทย ณ เมืองชายแดนสามแห่ง และศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติประจำประเทศพม่าเป็นหน่วยงานที่รับผิด ชอบ ทั้งนี้ แรงงงานข้ามชาติดังกล่าวมีเวลาถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ หากไม่ผ่านกระบวนการนี้ก็จะถูกผลักดันออกนอกประเทศ
 
องค์กรทั้งสามได้รับทราบข้อมูลจากคำ บอกเล่าของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า เกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติ และข้อมูลเกี่ยวกับบริการของหน่วยงานเอกชนบางแห่ง ซึ่งเป็นนายหน้าให้ความช่วยเหลือในการจัดส่งเอกสาร การนำแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติยังศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติตามอำเภอบริเวณ ชายแดนไทย-พม่า นำแรงงานข้ามพรมแดนเพื่อรับการพิสูจน์สัญชาติ และนำกลับเข้ามาประเทศไทยโดยได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวและใบอนุญาตทำงาน โดยคิดค่าบริการในอัตราที่หลากหลาย พอสรุปได้ว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่และองค์กรซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ จำนวนมาก ยังคงไม่ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงอัตราค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน อีกทั้งไม่ตระหนักถึงประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ ในครั้งนี้ นอกจากนี้ แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐบาล ทหารพม่า ยังรู้สึกไม่ไว้วางใจและไม่กล้าแสดงตนต่อรัฐบาลทหารพม่าเพื่อเข้ารับการ พิสูจน์สัญชาติ เนื่องจากหวาดกลัวว่าครอบครัวที่อยู่ในประเทศพม่าอาจถูกกลั่นแกล้งได้ หลังจากรัฐบาลทหารพม่าได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของชนกลุ่มน้อยดังกล่าว อนึ่ง แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าจำนวนมากไม่มีเอกสารแสดงตนที่ออกโดยรัฐบาลทหาร พม่า
 
องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเป็นอย่าง ยิ่งว่า แรงงานอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นจากกระบวนการ ทุจริตเรียกเงิน หรือกระทั่งกระบวนการค้ามนุษย์ และอาจทำให้ครอบครัวแรงงานซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้ยื่นหนังสือถึงผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 และขอถือโอกาสนี้กราบเรียนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรง งานจากประเทศพม่ามายังท่านเพื่อโปรดพิจารณา ดังนี้
 
1. รัฐบาลควรเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติใน ประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญคือ ช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น
 
2. กระทรวงแรงงานและกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการให้ความรู้แก่แรงงาน ข้ามชาติพม่าอย่างทั่วถึงโดยเร่งด่วน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าใจกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว การประชาสัมพันธ์ควรมีการวางแผนและประสานงานกับเจ้าหน้าที่พม่า และควรจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้มีภาษาท้องถิ่นต่างๆของกลุ่มชาติพันธุ์ใน พม่า และภาษาไทยสำหรับนายจ้าง
 
3. กระทรวงแรงงานย่อมตระหนักดีว่าแรงงานข้ามชาติเพิ่งเสียค่าขึ้นทะเบียนแรงงาน ประจำปี 2552-2553 โดยแรงงานต้องเสียค่าใช้จ่าย 6,000-7,000 บาทต่อคน และใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุลงในอีก 8 เดือนข้างหน้า ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 แทนที่จะหมดอายุในเวลาอีก 12 เดือน กระทรวงแรงงานและนายจ้าง ควรดำเนินมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติขณะดำเนินการ พิสูจน์สัญชาติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของแรงงานข้ามชาติที่อาจตกเป็นแรงงานทาส เพื่อใช้หนี้ที่เกิดขึ้น
 
4. หากจำเป็นต้องใช้นายหน้าในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ นายหน้าควรดำเนินการโดยไม่แสวงกำไรเกินควร และได้รับการตรวจสอบควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล เนื่องจากมีความเป็นไปได้ สูงที่จะเกิดการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบกับแรงงานข้ามชาติ   ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีการกำกับดูแลนายหน้า แรงงานที่ใช้บริการนายหน้าเพื่อเดินทางไปเมืองชายแดนที่ห่างไกล ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเหยื่อการลักลอบขนคนเข้าเมือง หรือกระบวนการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี ทั้งนี้ รัฐบาลมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในทุกวิถีทางที่จะกระทำได้
 
5.  รัฐบาลควรให้ความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน และสหภาพแรงงานที่ทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ ในเรื่องกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และ/หรือ จัดให้หน่วยงานดังกล่าวเข้าเยี่ยมชมศูนย์การพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นกระจายข้อมูลต่อไปยังแรงงานข้ามชาติ
 
6. รัฐบาลได้กำหนดระยะเวลาที่แรงงานข้ามชาติจะต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้ แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นกำหนดระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และก่อให้เกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรงในหมู่แรงงานข้ามชาติว่า อาจถูกผลักดันออกนอกประเทศก่อนกระบวน การพิสูจน์สัญชาติจะแล้วเสร็จสำหรับทุกคน รัฐบาลควรลดความหวาดวิตกกังวลของแรงงานข้ามชาติ และควรกำหนดกรอบระยะเวลาใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
 
7. เนื่องจากการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าเกือบ 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้แล้วเสร็จนั้น ย่อมต้องใช้เวลา รัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้รับ สิทธิต่างๆ เท่าเทียมกับผู้ที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว
 
องค์กรทั้งสามหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะกรุณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำปัญหาและข้อเสนอแนะข้างต้นไป พิจารณา ทั้งนี้เพื่อประกันให้เกิดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่โปร่งใส ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสถานะของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองสิทธิแรงงานอย่างเสมอภาคให้เกิดขึ้น จริงต่อไปในอนาคตตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีใน อนุสัญญาฉบับต่างๆ
 
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
 
สาวิทย์ แก้วหวาน
(เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์)
 
โคทม อารียา
(ประธาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา)
 
วิไลวรรณ แซ่เตีย
(ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย)
http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26169

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น