อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

2 คนร้ายอุกอาจ!ปาระเบิดศาลตลิ่งชันบุกชิงผู้ต้องหา สุดท้ายไม่รอดเจอโทษหนัก "หมูสกปรก"ปัดไม่รู้เรื่อง

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18:00:46 น.  มติชนออนไลน์

2 คนร้ายอุกอาจ!ปาระเบิดศาลตลิ่งชันบุกชิงผู้ต้องหา สุดท้ายไม่รอดเจอโทษหนัก "หมูสกปรก"ปัดไม่รู้เรื่อง

ปา บึ้มศาลจังหวัดตลิ่งชัน สร้างสถานการณ์ชิงตัวผู้ต้องหาระหว่างรอขึ้นศาล สุดท้ายไม่รอดติดตรวน เจออ่วมข้อหาละเมิดอำนาจศาล และหลบหนีการคุมขัง โทษหนักทั้งจำคุก-ปรับ "หมูสกปรก"ปัดไม่รู้เรื่องเพื่อนร่วมก๊วนก่อคดีอุกอาจ ผู้พิพากษาชี้หากขับรถส่งผู้ต้องขังตามกฎคงไม่เกิดเรื่อง

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 21 ธันวาคม  พ.ต.ต.สอาด ดัดธุยะวัตร์ พนักงานสอบสวน (สบ 2) สน.ตลิ่งชัน ได้รับแจ้ง  ว่า คนร้ายปาระเบิดพยายามชิงตัวผู้ต้องหาลักทรัพย์ ขณะนั่งรถเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทะเบียน 40-1558 นนทบุรี ไปขึ้นศาลจังหวัดตลิ่งชัน  เหตุเกิดทางเข้าศาลจังหวัดตลิ่งชัน ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กทม. จึงออกไปตรวจสอบพร้อม พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. พ.ต.อ.บรรลือศักดิ์ ขลิบเงิน ผกก.สส.บก.น.7 พ.ต.ท.สุกิจ อรุณฤกษ์ถวิล รอง ผกก.สส.สน.ตลิ่งชัน และกลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด บก.สปพ.


เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุพบวัตถุต้องสงสัยรวม 3 ชิ้น ประกอบด้วยวัตถุทรงสี่เหลี่ยม ยาว 10 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ห่อหุ้มด้วยถุงเท้ามีเทปกาวสีดำพันมิดชิด สายชนวนยื่นออกมา รวม 2 อัน ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดตรวจสอบเป็นประทัดสามเหลี่ยมแบบกระจับ 2 อัน บรรจุในกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องนม และวัตถุคล้ายระเบิดบรรจุกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องนมพันเทปกาวสีดำ ต่อสายไฟ 1 ลูก  ตรวจสอบพบยาดม 2 หลอด

 

ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่เรือนจำ และ รปภ.ศาลควบคุมตัวผู้ต้องหาชายและหญิง รวม 5 คน ที่นั่งอยู่ในรถเรือนจำที่คนร้ายพยายามชิงตัว มาส่งยังห้องควบคุมชั้นล่างศาลจังหวัดตลิ่งชัน เพื่อรอนัดสอบคำให้การจำเลย ประกอบด้วย

1.น.ส.วรัญญาภรณ์ เตรียมธนวัชร์ อายุ 27 ปี

2.น.ส.วลัยลักษณ์ ศรีประไพ อายุ 27 ปี

3.นายสุภัทร หรือทอม เนินวิเชียร อายุ 29 ปี

4.นายณัฐ หรือโต้ง ชาหอม อายุ 30 ปี และ

5.นายพีรวัตร หรือพี ตะวันธรงค์ อายุ 23 ปี ผู้ต้องหาคดีร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืน และร่วมกันรับของโจร คดีหมายเลขดำที่ อ.9018/2552 และเป็นสมาชิกก๊วนเดียวกับนายหทัย หรือ อ๊อฟ ไชยวัณณ์ อายุ 38 ปี นักแข่งรถชื่อดังเจ้าของฉายา  "หมูสกปรก" ตระเวนลักทรัพย์ตู้เซฟมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท

 

สอบถามนายสุธิพร บุญญพรรค พนักงานขับรถเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ให้การว่า ตนพร้อมเจ้าหน้าที่ 4 คน ควบคุมตัวผู้ต้องหา 5 คน มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เมื่อถึงบริเวณศาลปกติจะต้องนำรถเข้าไปจอดในศาล แต่วันนี้มีรถควบคุมผู้ต้องหาของเรือนจำพิเศษธนบุรีจอดอยู่ จึงจอดด้านนอก เมื่อผู้ต้องหาทยอยลงจากรถ ได้ยินเสียงนายณัฐตะโกนว่าระเบิด หันไปดูพบวัตถุคล้ายระเบิดตกอยู่ ขณะที่นายณัฐ และนายสุภัทร พยายามอาศัยช่วงโกลาหล วิ่งหนีจะไปขึ้นรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค จอดอยู่ข้างรถเรือนจำ แต่เจ้าหน้าที่ศาลและเจ้าหน้าที่เรือนจำจับกุมไว้ได้ ทำให้คนร้ายที่มาชิงตัวผู้ต้องหา 2 คน ขับรถหลบหนีไปท้ายซอยอย่างรวดเร็ว

 

ต่อมาตำรวจไปตรวจสอบท้ายซอยห่างจุดเกิดเหตุ 800 เมตร สุดถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชันที่เป็นซอยตัน พบรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค สีเขียว ทะเบียน ภก 3598 กรุงเทพมหานคร ติดฟิล์มทึบ กันชนท้ายด้านขวาหลุดห้อยลงมา ประตูทั้ง 2 ข้างเปิดทิ้งไว้และยังติดเครื่องอยู่ ในรถพบอาวุธปืนขนาด .38 มม. พร้อมกระสุน 10 นัด วางอยู่ที่เบาะคนขับ ส่วน 2 คนร้าย วิ่งหลบหนีไปตามทางรถไฟ ทราบชื่อหนึ่งคนคือ นายชัชวาล โง้วกิมเซ้ง อายุ 26 ปี ชาว จ.ลำพูน ผู้ต้องหาคดีฉ้อโกง เพิ่งได้ประกันตัวออกมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

พ.ต.ท.สุกิจกล่าวว่า สอบสวนพยานแวดล้อมทราบว่า นายณัฐ คือผู้ปาระเบิดปลอมที่ทำขึ้นในเรือนจำ  โดยนัดแนะกับนายชัชวาลซึ่งรู้จักกันในเรือนจำนำรถยนต์มารอรับ จึงได้สั่งการฝ่ายสืบสวน และสายตรวจสกัดจับเร่งด่วน 

 

ต่อมาเวลา 11.30 น. นายภัทรศักดิ์ ศิริสินธว์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดตลิ่งชัน แถลงว่า ทั้ง 5 คน เป็นผู้ต้องหาร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืน และร่วมกันรับของโจร วันนี้ ศาลนัดพิจารณาคดี เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคม 2550-พฤษภาคม 2552 ท้องที่ สน.ธรรมศาลา มูลค่าความเสียหาย 2,428,000 บาท การก่อเหตุครั้งนี้มีผู้ร่วมวางแผน 3 คน ประกอบด้วย นายณัฐ นายสุภัทรและนายชัชวาล อดีตผู้ต้องขังคดีฉ้อโกงโรงพยาบาลยันฮี ได้รับการประกันตัวออกไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้ง 3 รายรู้จักกันในเรือนจำ โดยจำเลยทั้ง 2 คน มีคดีลักทรัพย์ติดตัวกว่า 20 คดี และมีอัตราโทษสูง ยื่นขอประกันตัวหลายครั้งแต่ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากมีคดีติดตัวจำนวนมาก จึงร่วมกันวางแผนหลบหนี

 


ศาลตรวจสอบแล้วพบว่า นายสุภัทรกับนายณัฐ มาที่ศาลจังหวัดตลิ่งชัน 3 ครั้งแล้ว ทำให้รู้ว่ารถผู้ต้องหาต้องวิ่งผ่านเข้าไปจอดในช่องหน้าห้องควบคุมชั้นล่าง แต่กรณีที่เกิดขึ้นรถของเรือนจำจอดหน้าประตูทางเข้า ไม่ได้เข้าจอดในช่องตามระเบียบปฏิบัติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอ้างว่า ต้องไปส่งจำเลยอีกหลายศาล ทั้งนี้ ทราบว่าทั้งหมดวางแผนตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม สรุปแผนครั้งสุดท้ายวันที่ 18 ธันวาคม ให้นายชัชวาลย์ประกอบระเบิดมาซุกไว้ช่องระบายอากาศหลังคารถเรือนจำ ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งประชาชนสามารถเดินผ่านรถอย่างง่ายดายเพราะจอดอยู่หน้าเรือนจำ นายชัชวาลนัดหมายนำรถยนต์เขียวเข้มมารับหน้าศาล หากช่วยเหลือสำเร็จ จะพาไปกบดานที่ จ.ชลบุรีก่อน แล้วค่อยหลบหนีเข้าประเทศกัมพูชา

 

 ทั้งนี้ แม้นายสุภัทรกับนายณัฐ จะถูกขังแยกคนละแดนแต่แผนทั้งหมดสรุปในวันเยี่ยมญาติซึ่งผู้ต้องขังมาพบกันได้ ส่วนนายชัชวาลวันนี้มีนัดพิจารณาคดีที่ศาลอาญาด้วย ทราบว่าศาลอาญาออกหมายจับแล้วเนื่องจากไม่ไปขึ้นศาลตามกำหนด  

 


ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นความละเลยของเจ้าหน้าที่เรือนจำหรือไม่ นายภัทรศักดิ์ ตอบว่า ไม่ขอออกความเห็นว่า มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์รายใดรู้เห็นกับกลุ่มผู้ต้องขังหรือไม่ แต่หากขับรถเข้ามาส่งผู้ต้องขังยังจุดจอดรถตามกฎ เหตุการณ์ทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้น เรื่องเสี่ยงมาก เพราะตำรวจตรวจพบอาวุธปืนและกระสุนในรถยนต์ที่นายชัชวาลย์จอดทิ้งไว้ หากมีการใช้อาวุธปืนต้องมีผู้เสียชีวิตแน่นอน เพราะตอนที่กลุ่มผู้ต้องขังลงจากรถทราบว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ถืออาวุธปืนลงมาคุ้มกัน อาจเป็นเพราะความเคยชินที่เดินทางมาศาลไม่เคยเกิดเรื่องวุ่นวาย

 


"การชิงตัวผู้ต้องขังในศาลเป็นเรื่องอุกอาจมาก นายณัฐและนายสุภัทร จะถูกแจ้งข้อหาละเมิดอำนาจศาล โทษจำคุก 6 เดือน และหลบหนีการคุมขัง โทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงาน ส่วนนายชัชวาลย์จะแจ้งข้อหากระทำการใดให้ผู้ถูกคุมขังหลบหนี โทษจำคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 14,000 บาท ละเมิดอำนาจศาล และ พ.ร.บ.อาวุธปืน และกำลังรอการพิจารณาอยู่ด้วยว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร หรือเรือนจำพิเศษธนบุรี จะร้องทุกข์กล่าวโทษต่อไป"  ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะฯกล่าว

 

ขณะที่นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า สั่งการนายฐานิส  ศรียะพันธ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ไปที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุ เบื้องต้นได้รับทราบข้อมูลแล้ว และให้นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบข้อมูลการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง และตรวจสอบเทปจากกล้องวงจรปิดเพื่อพิสูจน์ว่า รถยนต์คันที่นายชัชวาลใช้เคยเข้า-ออกเรือนจำหรือไม่ และตรวจสอบระเบิดปลอมว่านำมาจากที่ไหน ใครจัดหาและส่งเข้าเรือนจำ

 

รายงานข่าวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า จากการสอบถามนายหทัย  "ฉายาหมูสกปรก"  ปฏิเสธไม่ทราบเรื่อง และไม่เคยคิดจะหลบหนี เพราะถูกดำเนินคดีลักทรัพย์เพียงคดีเดียว เป็นตัวกลางในการเจรจาขอไกล่เกลี่ยคดี ต้องโทษจำคุกแค่ 2 ปี ต่างจากนายณัฐ ต้องโทษหนักกว่า และถูกอายัดตัวดำเนินคดีลักทรัพย์กว่า 20 คดี

 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นายชัชวาลเคยถูกตำรวจ สน.มักกะสัน จับกุมข้อหาฉ้อโกง เมื่อวันที่ 1 กันยายน อ้างว่าเป็นทายาทเจ้าของร้านทอง  "โง้วกิมเซ้ง"  เข้ารักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพถึง 2 ครั้ง อ้างป่วยเป็นโรคเครียดขอนอนพักดูอาการห้องคนไข้พิเศษ ก่อนหลบหนีไปโดยไม่จ่ายค่ารักษา นอกจากนี้ เคยก่อเหตุที่โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลสินแพทย์ และโรงพยาบาลคามิเลี่ยน หลายครั้งรวมค่าใช้จ่ายกว่า 200,000 บาท


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1261371663&grpid=01&catid=







--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Stella Awardคือรางวัลอะไร...แก้เครียด


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809/wordcamp-bangkok-2009-pool-party


>
>
>
> Stella Awards เป็นการจัดอันดับคดีที่ชนะมาได้อย่างไม่น่าเป็นไปได้ประจำปี
> ของประเทศสหรัฐอเมริกา
>
>
> ที่มาของ Stella Awards เริ่มมาจากคดีแรกที่คุณยาย Stella Liebeck อายุ 81 ปี
> วางถ้วยกาแฟ้ร้อนที่ซื้อมาจากแม็คโดนัล สาขานิวเม็กซิโก เปิดฝาแล้ววางหนีบไว้
> ที่หว่างขาระหว่างกำลังขับรถ โดนกาแฟลวกเข้า ไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก้อนโต...
> ชนะซะงั้น ก็เลยเกิดการประกวดประชันความซื่อบื้องี่เง่าของเหล่านักกฏหมาย
> ทนายความ ผู้พิพากษา ลูกขุน...ออกแนวประชดๆ กัน
>
>
> มาดูกันว่า 7 อันดับ คดีประหลาดประจำปีนี้มีอะไรบ้าง
>
>
> อันดับ 7
> แคทลีน โรเบิร์ตสัน อยู่ที่ ออสติน เท็กซัส หกล้มหัวเข่าแตก
> ในร้านขายเฟอร์นิเจอร์เนื่องจากโดนเด็กคนหนึ่งวิ่งชนเอา
> ฟ้องจ้าของร้านเรียกค่าเสียหาย 80,000 เหรียญ
> เด็กคนที่ว่านี้เป็นลูกชายของเธอเอง!!! ยุติธรรมเกินไปหรือเปล่า
>
>
> อันดับ 6
> คาร์ล ทรูแมน อายุ 19 อยู่ที่ ลอล แองเจลีส
> พยายามขโมยฝาครอบล้อรถ ฮอนดา แอ็คคอร์ดของเพื่อนบ้าน
> ก้มลงไปแกะไม่ทันดูว่าเจ้าของรถเค้าอยู่บนรถ ล้อรถทับมือเข้า
> ฟ้องเจ้าของรถ งานนี้ได้ไป 74,000 เหรียญ ไม่รวมค่ารักษา
>
>
>
> อันดับ 5
> เทอเรนซ์ ดิกสัน เมืองบริสตอล เข้าไปโขมยทรัพย์สินในบ้านหลังหนึ่ง
> แล้วออกทางโรงเก็บรถที่มีประตูอัตโนมัติ แต่กลไกมันเสียอยู่พอดี
> พยายามเปิดยังไงก็ไม่ได้ จะย้อนเข้าบ้านประตูบ้านก็ล็อกไปแล้วเหมือนกัน
> บังเอิญเจ้าของไม่ได้กลับบ้าน 8 วัน ดิกสันต้องกินอาหารหมากับเป๊บซี่ที่อยู่ในโรงรถ
> พอออกมาได้ ฟ้องร้องค่าเสียหายเอากับบ.ประกันของเจ้าของบ้าน
> ผู้พิพากษาคงคิดว่าน่าสงสารจัง สั่งจ่ายไป ห้าแสนเหรียญ ค่ะ
>
>
> อันดับ 4
> ที่ อาร์คันซอร์ เจอรี่ วิลเลียม ปีนเข้าไปในเขตบ้านเค้า เอาหนังสติ๊กไปยิงหมาที่เค้าล่ามโซ่อยู่
> โดนมันกัดก้นเอาเข้า มีหน้าไปฟ้องร้องเรียกค่าทำขวัญกะค่ายาจากเจ้าของหมาอีก
> ได้ไป 14,500 เหรียญ นี่ถ้าไม่ไปยิงหมาให้มันโมโหก่อน ผู้พิพากษาบอกว่าจะได้มากกว่านี้
>
>
> อันดับ 3
> รายนี้เป็นสาวชื่อ แอมเบอร์ คาร์สัน ทะเลาะกะแฟนในร้านอาหารที่ฟิลาเดนเฟีย
> เอาเครื่องดื่มสาดหน้าแฟนแล้วเดินสะบัดจากมา ลื่นล้มน้ำที่เปียกอยู่บนพื้นซะเอง ก้นกบแตก
> เจ้าของร้านเป็นฝ่ายจ่ายค่าเสียหายให้ " หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นสามพันห้าร้อยเหรียญ " อย่างงงๆ ว่า
> มันเกี่ยวไรกะต ู เนี่ย! ?!
>
>
> อันดับ 2
> รายนี้ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ คารา วัลตัน ดูเหมือนว่าหลีกเลี่ยงการเข้าห้องน้ำทางระตู
> ของไนท์คลับแห่งหนึ่งเพราะไม่อยากเสียตังค์ 3.5 เหรียญ เธอมุดเข้าทางหน้าต่าง
> หน้าคะมำฟันหน้าหักไปสองซี่ หน้าไม่อายฟ้องไนท์คลับค่าเสียสวย ได้ไป 12,000 เหรียญ
>
>
> อันดับ 1
> ซื่อบื้อสมศักดิ์ศรีรางวัลผู้ชนะมากมายค่ะ
>
>
> นางอะไรเนี่ย ชื่อเหมือนรัซเซียเลย Mrs. Merv Grazinsk อยู่โอกลาโฮมา
> ไปซื้อรถบ้านยี่ห้อ Winnebago รถที่เป็นบ้านด้วยน่ะค่ะ ยาวตั้ง 32 ฟุต
> ไปดูฟุตบอลเสร็จก็ขับไปตามถนนหลว ง เพื่อจะกลับบ้าน เกิดหิวขึ้นมา
> ก็เลยตั้งให้รถเป็นแบบขับความเร็วคงที่ 70 ไมล์ ต่อชั่วโมง ( cruise control)
> แล้วก็เดินไปทำแซนวิซกิน เหมือนปกติที่บ้านมั้ง คิดได้ไงเนี่ย
> รถก็ตกถนนสิ พลิกคว่ำพลิกหงาย
> เป็นความ โชคร้าย ของบ.ขายรถ เธอไม่ยักเป็นไร
> แต่ ลุกขึ้นมาฟ้องบริษัทรถ Winnebago
>
>
> ฟ้องว่า.....ฟ้องว่า... ทายซิฟ้องว่าอะไร
>
>
> ทำไม่ไม่ระบุไว้ในคู่มือว่า ไม่ควรละจากที่นั่งคนขับในขณะตั้งความเร็วอัตโนมัติไว้
> ชนะคดีได้ 1,750,000 เหรียญ แถมได้ รถคันใหม่ ชดเชยมาอีกคัน
> งานนี้บริษัทต้องรีบแก้ไขคู่มือเลย
> เพราะเกรงว่าจะมีญาติของคุณนายสติปัญญาใกล้เคียงกันจะตามมาซื้ออีกคัน
>
>
>
>


Windows Live Hotmail gives you a free,exclusive gift. Click here to download.

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กมธ.กิจการ สผ. ชี้ ท้องถิ่นอาจใช้งบประมาณผิดระเบียบ

 

 

 

กมธ.กิจการ สผ. ชี้ ท้องถิ่นอาจใช้งบประมาณผิดระเบียบ

12 พ.ย. 52               ประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร เผย มีหลายองค์การบริหารส่วนจังหวัดใช้งบประมาณโดยวิธีจัดจ้างพิเศษ ซึ่งอาจผิดระเบียบ ชี้ หากไม่ใช่กรณีเร่งด่วนจะกระทำไม่ได้ ระบุ จะพิจารณาอีกครั้งหลังจากท้องถิ่นจัดส่งเอกสารระเบียบการจัดซื้อมาให้กมธ.

                นายศักดา  คงเพชร ประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังการพิจารณาเรื่องการติดตามผลการปฏิบัติตามมติสภาผู้แทนราษฎร กรณีการดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552เงินอุดหนุนเฉพาะกิจสำหรับการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเงินอุดหนุนองค์กรปครองส่วนท้องถิ่นกรณีเร่งด่วน รวมทั้งเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามยุทธศาสตร์ของการปกครองส่วนท้องถิ่นว่า จากการซักถามระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ จากหน่วยงานราชการแล้ว พบว่ามีหลายองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ยึดคำสั่งและดำเนินการจัดจ้างพิเศษ ทั้ง ๆ ที่การจัดซื้อจัดจ้างพิเศษจะต้องเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีอีกหลายพื้นที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ขณะที่หลายท้องถิ่นได้รับงบประมาณเป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นธรรม ไม่กระจายงบประมาณซึ่งขัดกับระเบียบที่กำหนดให้กระจายงบประมาณไปสู่ท้องถิ่น ดังนั้น กมธ.จึงได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสารมายังกมธ.และจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์หน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                ญชิสา  จ่าภา            ผู้สื่อข่าว

                                                                                                                มันทนา  ศรีเพ็ญประภา          เรียบเรียง


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ศาลฎีกาจำคุก 5 ปี"อดีตเลขาฯกช." ทุจริตซื้อสื่อการเรียน-เจ้าตัวหนี

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11562 มติชนรายวัน


ศาลฎีกาจำคุก 5 ปี"อดีตเลขาฯกช." ทุจริตซื้อสื่อการเรียน-เจ้าตัวหนี




ศาล ฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ จำคุก 5 ปี"โกวิท ประวาลพฤกษ์"อดีตเลขาฯกช. ทุจริตจัดซื้อสื่อการเรียน รับเงินกว่า 2.5 แสนบาท เจ้าตัวเบี้ยวไม่มาฟังคำพิพากษา สั่งออกหมายจับ ปรับนายประกัน

เมื่อ เวลา 09.30 น. วันที่ 4 พฤศจิกายน ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำที่ 3423/44 ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายโกวิท ประวาลพฤกษ์ อายุ 58 ปี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจัดซื้อสื่อการ เรียนการสอนโดยทุจริต ในขณะอยู่ในตำแหน่ง

ฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2544 สรุปว่า ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539 ถึง 2 กรกฎาคม 2540 จำเลยทุจริตโดยสั่งซื้อสื่อการเรียนการสอนโรงเรียนเอกชนการกุศลระดับอนุบาล จากบริษัท โฟรเบล เอ็ดดูเคชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด 3 รายการ เป็นเงิน 1,991,850 บาท โดยวิธีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 23 (6) อ้างว่า บริษัท โฟรเบลฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทโฟรเบลฯ ทั้งที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าการจัดซื้อครั้งนี้ไม่อยู่ในเงื่อนไขการจัดซื้อ ด้วยวิธีพิเศษ เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนต้องจ่ายเงินงบ ประมาณสูงกว่าเดิม 680,627 บาท โดยจำเลยได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 256,445 บาท ขอศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90,151,157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 4 และมาตรา 28 จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง อัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง เป็นความผิดกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักสุดตามมาตรา 151 พิพากษากลับให้จำคุก 5 ปี จำเลยยื่นฎีกา และใช้เงินสด 500,000 บาท ประกันตัวไป

ศาลฎีกาตรวจ สำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นข้ออ้างลอยๆ ไม่มีหลักฐานอื่นมาสนับสนุน มีพิรุธ ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ จึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยตามกฎหมาย เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 กันยายน ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา แต่จำเลยไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงออกหมายจับ ปรับนายประกัน และนัดฟังคำพิพากษาในวันนี้อีกครั้ง

หน้า 12
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01jud01051152&sectionid=0117&day=2009-11-05

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

[Food not Bombs Thailand] FW: CBNA_45 แรงงานข้ามชาติ และเหลี่ยม โมกงาม ผีบ้าของการรถไฟไทย



 
จาก: fareedah p.prakarapho <individualism_aha@live.com>
วันที่: ตุลาคม 31, 2009 9:57 หลังเที่ยง
หัวเรื่อง: [Food not Bombs Thailand] FW: CBNA_45 แรงงานข้ามชาติ และเหลี่ยม โมกงาม ผีบ้าของการรถไฟไทย
ถึง: กลุ่มประกายไฟ <prakaifire@googlegroups.com>, food not bombs <food-not-bombs-thailand@googlegroups.com>




Palida Nam prakarapho - Prakaifire group
Mobile: 085-6491493
facebook : Palida Nam Prakarapho
twitter : follow me -- @indifareedah
MSN : individualism_aha@live.com
 



 

Date: Sat, 31 Oct 2009 15:43:32 +0700
Subject: CBNA_45 แรงงานข้ามชาติ และเหลี่ยม โมกงาม ผีบ้าของการรถไฟไทย
From: crossborder.newsagency@gmail.com
To: crossborder.newsagency@gmail.com

ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน (Cross Border News Agency)

ฉบับที่ 45 (31 ตุลาคม 2552)

แรงงานข้ามชาติ และเหลี่ยม โมกงาม ผีบ้าของการรถไฟไทย

                       

ล่วงเข้าวันใหม่มาหลายชั่วโมงแล้ว แต่พวกเขาก็ยังขะมักเขม้นอยู่
กับการสกรีนป้ายผ้าและผ้าพันคอเพื่อใช้เดินขบวนในวันพรุ่ง มองไปรอบๆตัว เหลี่ยม โมกงาม
, สาวิทย์ แก้วหวาน, ภิญโญ เรือนเพ็ชร และพี่น้องจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วม 20 คน นี้ยังไม่นับอำนาจ พละมี, นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ที่ต่างช่วยทำงานชิ้นนี้กันมาตั้งแต่เย็นย่ำแล้ว อีกหลายคนก็ช่วยจัดเตรียมเครื่องเสียงที่มีพลังพอที่จะส่งเสียงดังไปถึงคนที่อยู่ภายใน
ทำเนียบรัฐบาล



ย้อนหลังไปเมื่อสองสามปีที่แล้ว ที่ประเทศไทยมีรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารได้อนุญาตให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ระยอง ระนอง และพังงา ออกประกาศจังหวัดเรื่อง กำหนดมาตรการจัดระเบียบคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ว่า ห้ามแรงงานต่างด้าวขับขี่รถจักรยานยนต์ ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ ห้ามออกจากที่ทำงานในเวลากลางคืนระหว่าง 20.00 – 06.00 น. และยังห้ามรวมกลุ่มกันเกินกว่า 5 คน รวมทั้งให้นายจ้างควบคุม กำกับดูแลแรงงานต่างด้าวตลอดระยะเวลาการจ้างงานอย่างเข้มงวด



คำสั่งดังกล่าวนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ดีสำหรับชุมชนไทยในพื้นที่ แต่สำหรับแรงงานข้ามชาติในฐานะ “ลูกจ้าง/แรงงาน” ในกิจการจ้างงานต่างๆแล้ว สิ่งที่ติดตามมาอย่างมหันต์และคนในทำเนียบในจวนผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เคยรับรู้แม้แต่น้อย คือ ผลกระทบต่อพวกเขาและครอบครัว ดังเช่นเหตุการณ์ที่จังหวัดพังงา เมื่อแรงงานกลุ่มหนึ่งได้จัดงานวันเกิดให้กับเด็กๆในหมู่บ้าน ระหว่างนั้นมีแรงงานผู้ใหญ่และเด็กจำนวน 300-400 คน ได้เดินทางมาร่วมงาน เมื่อตำรวจทราบว่ามีการรวมตัวกันเกิน 5 คน จึงเข้าจับกุมแรงงานทั้งๆที่แรงงานจำนวนมากมีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมาย และอีกหลายคนเป็นเด็ก



หรือกรณีที่ตำรวจไปพบแรงงานที่ขี่มอเตอร์ไซด์ของนายจ้างไปซื้อของในร้านค้าที่อยู่คนละแห่งของสถานที่ทำงาน ตำรวจจะยึดรถมอเตอร์ไซด์ไปทันที ทั้งๆที่แรงงานคนดังกล่าวก็มีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมายและนายจ้างเป็นผู้สั่งให้แรงงานออกไปซื้อของให้ , แรงงานจำนวนมากที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือในที่สาธารณะ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือคนในท้องถิ่นมาพบเข้า จะมีการแจ้งตำรวจให้มาริบโทรศัพท์ไป หรือบางครั้งก็จะยึดไปเอง หรือมีแรงงานจำนวนมากที่เจ็บป่วยในตอนกลางคืนไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ทันท่วงทีเพราะไม่สามารถออกจากที่พักได้



นี้เป็นเพียงเหตุการณ์เล็กน้อยในกว่าหลายสิบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จนนำมาสู่ความกังวลใจของแรงงานข้ามชาติและองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ที่ไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญหาที่ทับทวีขึ้นทุกวันได้ และนำมาสู่การปรึกษาหารือกับพี่น้องจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันประท้วงคำสั่งดังกล่าวหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อสิงหาคม 2550



จะว่าไปแล้วการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ภูเก็ต ระยอง ระนอง และพังงา ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลมาจากหยาดเหงื่อ กำไร และการขูดรีดด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ แต่รัฐบาลไทยก็กลับมองพวกเขาและเธอเป็นเพียง “แรงงานที่มองไม่เห็น” แต่สำหรับในมุมมองของพี่น้องสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว แรงงานข้ามชาติกลับไม่เคยเป็นอื่นและเป็นสายเลือดแรงงานสายธารเดียวกัน พวกเขาเป็นสหภาพแรงงานกลุ่มแรกของแรงงานประเภทรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ที่ออกมาสนับสนุนแรงงานข้ามชาติให้มีสิทธิมีเสียง และควรได้รับการปกป้องคุ้มครองตามกฎหมาย



ในประเทศไทยลูกจ้างประเภทแรงงานข้ามชาติไม่สามารถรวมตัวได้ถูกกฎหมาย เพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อเจรจาต่อรองกับรัฐและทุนได้ หลายต่อหลายครั้งลูกจ้างถูกให้ออกจากงาน ขึ้นบัญชีดำ การสมคบร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อส่งแรงงานกลับประเทศ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย มีการจ้างนักเลงท้องถิ่นไปทำร้าย หรือมีการเข้าจับกุมแรงงานข้ามชาติทีละมาก ๆเวลาแรงงานมีการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรองกับนายจ้าง เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนดูเป็นเรื่องปกติ



แต่สำหรับ “เหลี่ยม โมกงาม” แล้ว นี้คือนาฏกรรมของความโศกเศร้าที่สายเลือดแรงงานเดียวกันต้องเผชิญ เขาพร่ำบ่นกับคนรอบข้างหลายต่อหลายครั้งว่าทำอย่างไร “แรงงานข้ามชาติจะรวมกลุ่มได้โดยถูกกฎหมาย เพื่อมีสิทธิมีเสียงเสียที ?”



วัยร่วม 50 ปี ในตำแหน่งพนักงานขบวนรถการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนธรรมดาในชื่อเชยๆและไม่ใคร่เป็นที่รู้จักของสังคม ถ้าเขาไม่ถูกนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอเลิกจ้างพนักงานรวม 6 คน ซึ่ง 1 ใน 6 คน คือตัวเขาเอง ด้วยข้อหาทำผิดข้อบังคับ โดยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง



“เหลี่ยม โมกงาม” อาจเป็นผู้ร้ายในสายตาผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. แต่สำหรับพี่น้องแรงงานข้ามชาติแล้ว ไม่เคยมีสักครั้งที่เขาปฏิเสธ ทั้งกำลังคน งบประมาณ เครื่องเสียง อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ใช่แค่พึ่งเกิดขึ้นมาแค่ปีสองปี แต่นับร่วมสิบปีกว่าที่คำว่า “แรงงานข้ามชาติ” มีสถานะเท่ากับ “มนุษย์ต่างดาวและเชื้อโรคร้ายในสังคมไทย”


“เหลี่ยม โมกงาม”  รวมถึงสาวิทย์ แก้วหวาน และภิญโญ เรือนเพ็ชร ต้องต่อสู้กับสายตาคนรอบข้าง ครอบครัว และผู้ปฏิบัติงานในองค์กรเดียวกันเสมอมา ยามที่กระแสชาตินิยมพุ่งสูงขีดสุด แต่พวกเขากลับร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่และเป็นหนึ่งเดียวกับพี่น้องแรงงานข้ามชาติ ที่ว่ากันตามจริงแล้ว “แม้เป็นแรงงานเหมือนกัน แต่ก็เป็นคนอื่นของประเทศไทย” เสียงก่นด่า เสียงประณาม ไม่นับก้อนอิฐ มาถึงพวกเขานับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาถอยห่าง กลับเป็นหน่วยบุกเบิกสำคัญที่ทำให้ประเด็นแรงงานข้ามชาติ เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องหยิบยกมาพิจารณาหารือในกลุ่มแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์กรอื่นๆ เสมอมา



มีครั้งหนึ่งที่ภรรยาเขาออกกฎประจำบ้านว่า “ให้เข้าบ้านก่อนเวลาตีหนึ่ง ไม่อย่างนั้นจะเสียค่าปรับหนึ่งพันบาท” เหลี่ยม โมกงาม ปฏิบัติตามกฎนี้อย่างเคร่งครัดมาหลายสิบปี แต่นั่นเองเมื่อภารกิจเขียนป้ายผ้า สกรีนผ้าพันคอ และเขียนแถลงการณ์เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศจังหวัดต่อรัฐบาลยังไม่ลุล่วง วันนั้นเขายอมผิดกฎของบ้านเป็นครั้งแรกและเสียเงินหนึ่งพันบาทให้ภรรยา ด้วยคำพูดสั้นๆว่า “แรงงานข้ามชาติคือแรงงานเหมือนกัน จะทิ้งไปได้อย่างไร ถ้าไม่ช่วยกัน แล้วใครจะช่วย?”



วันนี้ “เหลี่ยม โมกงาม” อาจเป็นผีบ้าของการรถไฟไทยและผู้โดยสารไปแล้วที่พวกเขากับเพื่อนๆ ตัดสินใจเลือก “ความปลอดภัยของคนไทยทั้งประเทศเป็นที่ตั้งสำคัญมากกว่าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ” เขาเลือกให้ “รถหยุดแต่ปลอดภัย ดีกว่ารถออกไปเกิดอันตรายร้ายแรง” รู้ทั้งรู้ว่าผิดหน้าที่ ไม่มีสำนึกความรับผิดชอบต่อองค์กร ต้องโดนก่นประณามมหาศาลว่าสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน แต่ถ้าต้องเลือก เขายอมเลือกรับความผิด โดนกล่าวโทษ หัวใจเขาไม่กล้าแกร่งและหยาบกร้านพอที่จะปล่อยให้ประชาชนต้องเสียชีวิตเพราะน้ำมือของพนักงานขับรถไฟได้อีกต่อไปแล้ว (โดยที่คนไม่เคยมองเลยไปถึงระบบการเดินรถที่ไม่สมบูรณ์ หัวรถจักร ระบบรางที่ต้องปรับปรุง ความรับผิดชอบในการบริหารงานของฝ่ายบริหารแม้แต่น้อย) แค่เหตุการณ์ล่าสุดที่รถไฟตกรางที่เขาเต่า จนผลให้ประชาชนต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก แค่นี้หัวใจเขาก็สาหัสหนักหน่วง



แรงงานข้ามชาติเป็นคนนอกประเทศแท้ๆเขายังปกป้อง แต่นี้คือคนไทยทั้งประเทศ คือพี่น้องร่วมบ้านเดียวกัน คือคนที่เสียภาษีมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้เขาทุกเดือน เขาจะปล่อยให้คนไทยต้องรับกรรมจากระบบการเดินทางสาธารณะที่ไม่ปลอดภัยนี้ได้อย่างไร ?


เป็นคำถามที่คนไทยทั้งประเทศต้องลุกขึ้นมาให้คำตอบได้แล้ว !

                                                                                                                                                                             บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน เป็นศูนย์ข่าวออนไลน์ภาคภาษาไทย ทำหน้าที่รวบรวมข่าวภาษาไทยและนำเสนอบทวิเคราะห์ เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงานทุกกลุ่มในประเทศไทย (แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ) รวมถึงผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศพม่า ตลอดจนสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภายในประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ส่งผลกระทบต่อการย้ายถิ่น

 

ดำเนินการผ่านเงินทุนส่วนตัว และการลงแรงกาย แรงใจ ของกลุ่มเพื่อนสนิท 4 คน คือ พรสุข เกิดสว่าง, อดิศร เกิดมงคล, บัณฑิต แป้นวิเศษ และบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์

 

เริ่มต้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2552

 

พวกเราเชื่อว่า สังคมไทยต้องมีพื้นที่เรียนรู้ มากกว่าในห้องเรียนเพียงเท่านั้น การเรียนรู้มาพร้อมกับความเข้าใจและความอดกลั้นในความต่าง รวมถึงการเคารพคนอื่นที่ต่างจากเรา

 

ติดต่อเรา: crossborder.newsagency@gmail.com

 

 

อ่าน CBNA ฉบับที่ 1-44:  http://gotoknow.org/blog/crossborder-newsagency/toc
 
อ่านจดหมายจากน้าถึงหลาน : เฉลิมฉลองเทศกาลบินข้ามลวดหนาม ตอน 2 : http://gotoknow.org/blog/migrantworkers/toc
 
อ่านประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะ : http://gotoknow.org/blog/labournetnews/toc

 



Windows 7 ใหม่: ค้นหาพีซีที่เหมาะสมกับคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
You received this message because you are subscribed to the Google Groups "Food not Bombs Thailand" group.
To post to this group, send email to food-not-bombs-thailand@googlegroups.com
To unsubscribe from this group, send email to food-not-bombs-thailand+unsubscribe@googlegroups.com
For more options, visit this group at http://groups.google.com/group/food-not-bombs-thailand?hl=en
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---




--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
chan
http://integration9.blogspot.com/ integration
http://sundara21.blogspot.com/      sandara
http://same111.blogspot.com/        culture
http://sea-canoe.blogspot.com/      seacanoe
www.pil.in.th
http://www.openthaidemocracy.com

SME wants to keep up with you on Twitter

SME wants to keep up with you on Twitter

To find out more about Twitter visit http://twitter.com/i/1d04db7acfe2d9464bdbeecf92e97366b29e29b7

Thanks,
— The Twitter Team

About Twitter

Twitter is for discovering and sharing what's happening right now through the timely exchange of short, public messages. Since its inception in 2007, this open exchange of information has transformed Twitter from a simple social utility to a new kind of communication with the potential for positive global impact. Individuals and organizations alike are encouraged to try Twitter for a variety of uses ranging from social to commercial.

This message was sent by a Twitter user who entered your email address. If you'd prefer not to receive emails when other people invite you to Twitter you can opt-out

Please do not reply to this message; it was sent from an unmonitored email address. This message is a service email related to your use of Twitter. For general inquiries or to request support with your Twitter account, please visit us at Twitter Support.

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทเรียนจากความผิดพลาด กรณี"มาบตาพุด"

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11556 มติชนรายวัน


บทเรียนจากความผิดพลาด กรณี"มาบตาพุด"


โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ



การที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อปลายเดือนกันยายนศกนี้ ด้วยการสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีมาบตาพุดอีก 5 กระทรวงได้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข ระงับโครงการหรือกิจกรรมตามโครงการมาบตาพุด 76 โครงการไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น

ดูเหมือนจะจุดชนวนให้เกิดการกล่าวอ้างว่า การระงับโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นลูกโซ่มีมูลค่ามหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเกิดข้อโต้แย้งถกเถียงอื่นๆ ตามมาหลายประการนั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า "เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิด และไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น" หากผู้เกี่ยวข้องไม่ก่อความผิดพลาดขึ้น

แน่นอนที่สุด ขณะนี้หน่วยงานของรัฐ และผู้เกี่ยวข้องย่อมจะพยายามหาทางเยียวยาความเสียหาย และแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด

อย่างไรก็ดี เราควรจะถือโอกาสที่สังคมกำลังเพ่งเล็งปัญหานี้ร่วมกันสำรวจที่มาของความบกพร่องผิดพลาดครั้งนี้ และหาทางแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยได้อีกในอนาคต



1. รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมองเห็นปัญหานี้ล่วงหน้าหรือไม่?

บทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 อันเป็นที่มาของข้อโต้แย้งถกเถียงเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้น อันที่จริงไม่ใช่ของใหม่ เพราะเป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นตามแนวของมาตรา 56 วรรคสอง และมาตรา 59 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ซึ่งมีผลใช้มาแล้วถึง 12 ปีนั่นเอง

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ก็คือ หลักคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกาย โดยเน้นสิทธิในการดำรงชีพอย่างปกติ ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ด้วยเหตุนี้มาตรา 67 วรรคสองจึงวางหลัก ห้ามมิให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพของประชาชน

แต่การห้ามนี้ก็ไม่ใช่ห้ามขาด เพราะสิ่งที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงนั้น ในทางหลักวิชาในทางข้อเท็จจริง หรือตามมาตรฐานความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอาจจะไม่รุนแรงก็ได้

ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงวางข้อยกเว้นไว้ว่าการดำเนินกิจการเหล่านี้อาจมีได้หากได้ทำสิ่งสำคัญ 3 สิ่งเสียก่อนคือ

1.ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

2.รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย

3.ให้คนกลาง คือองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชน และนักวิชาการซึ่งเป็นผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพได้ให้ความเห็นประกอบ

กล่าวได้ว่า ความตามรัฐธรรมนูญนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักดีด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติไว้เมื่อ 2 ตุลาคม 2550 กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักร่วมกันกับส่วนราชการอื่นทุกหน่วยงานกำหนดมาตรการและกระบวนการรองรับการใช้สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการดำเนินการตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ

แต่จากบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ปรากฏว่าจนถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

จะเห็นได้ว่าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักการเมืองที่รับผิดชอบจะใส่ใจต่อปัญหาสำคัญที่จะอาจกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ก็น่าจะได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันผลร้ายไว้บ้าง เพราะตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2550 จนกระทั่งศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก็มีเวลาร่วม 2 ปีเต็ม

คำถามที่ประชาชนควรถามก็คือ การที่งานราชการหละหลวมไม่มีการเตรียมการวิเคราะห์และป้องกันความเสี่ยง ตลอดจนวางมาตรการแก้ปัญหาให้ทันท่วงที จนเกิดเป็นเรื่องเสียหายใหญ่โตขึ้นเช่นนี้ ใครบ้างหนอควรจะต้องรับผิดชอบ?



2. เหตุใดหน่วยงานของรัฐเพิ่งจะมาตื่นตัวเอาในปี 2552?

ความชะล่าใจของหน่วยงานของรัฐที่ดำรงอยู่เกือบสองปีได้สิ้นสุดลงเมื่อประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองระยองว่าการดำเนินการของนิคมอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลมาบตาพุด ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนในท้องที่อย่างรุนแรง แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกลับละเลยไม่ประกาศกำหนดให้ท้องที่ตำบลมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ

และศาลปกครองระยองได้พิพากษาเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2552 ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศท้องที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด และใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

จากนั้นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหน่วยต่างๆ จึงเริ่มร้อนตัว และหาทางแก้ตัวด้วยการทยอยส่งหนังสือหารือมายังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า

1.มาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญมีผลบังคับทันทีหรือไม่ หรือต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมากำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเสียก่อน และ

2.ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเช่นนั้นหน่วยงานของรัฐจะวางมาตรการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญไปพลางก่อนได้หรือไม่

3.ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะดังกล่าว หน่วยงานซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายปัจจุบันจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายปัจจุบันออกใบอนุญาตแก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจอยู่ใต้บังคับของมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญหรือไม่

มีข้อน่าสังเกตว่าหากหน่วยงานเหล่านี้ได้รับหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนตุลาคม 2550 แล้วเกิดสงสัยขึ้นว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร ดังนี้คำถามข้างต้นนี้ก็น่าจะส่งมายังกฤษฎีกาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 โน่นแล้ว



การที่รอมาถึงสองปีแล้วค่อยถามจึงเป็นข้อที่ชวนสงสัยในคุณสมบัติและความเหมาะสมต่อตำแหน่งของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง

การใช้เวลาเนิ่นนานเช่นนี้ ทำให้ฉุกคิดต่อไปว่าถ้าไม่มีคำพิพากษาศาลปกครองระยองเมื่อเดือนมีนาคม 2552 ขึ้นมา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเริ่มคิดตั้งคำถามกันหรือไม่

และในระหว่าง 2 ปีมานี้ บรรดากระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิพอที่จะตอบปัญหานี้ได้เชียวหรือ ในเมื่อบุคลากรหรืออดีตบุคลากรของหน่วยงานเหล่านี้ก็ล้วนได้รับเชิญไปเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาบ้าง เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์ใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากอยู่หลายคน รับเบี้ยประชุมและโบนัสกันบางแห่งเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท

ท่านเหล่านั้นจะไม่มีสติปัญญาเพียงพอจะคิดหาคำตอบไม่ออกกันเชียวหรือ



3. เหตุใดความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ช่วยแก้ปัญหา?

คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของหน่วยงานต่างๆ ที่เสนอเข้ามาโดยใช้เวลาประชุม 3 เดือนระหว่างพฤษภาคมจนถึงกรกฎาคม 2552 จนได้ข้อยุติสรุปได้ว่า

1.แม้สิทธิชุมชนและความคุ้มครองตามมาตรา 66 และ 67 ของรัฐธรรมนูญจะได้เกิดขึ้นและได้รับการคุ้มครองแล้วทันทีที่รัฐธรรมนูญมีผล แต่เมื่อมาตรา 303 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดทำให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นต่อไปว่ามาตรา 303 มาเป็นบทยกเว้นในฐานะเป็นบทเฉพาะกาล มีผลให้มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับทันที จนกว่าจะมีการตรากฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติแล้ว

2.ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดตามมาตรา 67 วรรคสองคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่จัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แต่หากหน่วยงานของรัฐจะใช้ดุลพินิจดำเนินการตามรัฐธรรมนูญไปพลางก่อนก็ไม่ต้องห้าม แต่อาจเกิดความสับสน เพราะอาจใช้เกณฑ์ต่างกัน และควรเข้าใจด้วยว่าเกณฑ์เหล่านั้นไม่มีผลบังคับเด็ดขาด คือผู้เกี่ยวข้องมีสิทธิโต้แย้งหน่วยงานที่วางเกณฑ์เหล่านั้นได้

3.ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายเฉพาะนั้น หน่วยงานของรัฐอาจออกใบอนุญาตแก่โครงการต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางที่กฎหมายที่บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดไว้ได้ เพื่อมิให้การพิจารณาอนุญาตหรือการลงทุนของเอกชนต้องหยุดชะงักอันส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและเศรษฐกิจของประเทศ

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ได้ทำขึ้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2552

แต่สำหรับผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวในทางกฎหมายมหาชนพอสมควร ก็จะทราบว่าความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้มีปัญหาทางหลักวิชา

เพราะการตีความว่ามาตรา 67 วรรคสองยังไม่มีผลบังคับทันที ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับเสียก่อนนี้ เป็นการตีความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง และก่อให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ตามมาอีกหลายประการ

การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ ขัดกับความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 อย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่ารัฐธรรมนูญมุ่งให้สิทธิขั้นพื้นฐานมีผลบังคับทันที จึงได้ตัดถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า "ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ" ออกไป

นอกจากนี้กรณีมาตรา 67 นี้ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยไว้ก่อนนั้นแล้วว่าย่อมมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับอีก

ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินกรณีถมคลองถนนเขต ไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 เกือบสองปีก่อนที่คณะกรรมการกฤษฎีกาจะทำความเห็นข้างต้นนี้ โดยศาลได้ปรับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 และวางหลักว่าแม้การคุ้มครองสิทธิตามมาตรา 46, 56 และ 59 ของรัฐธรรมนูญ 2540 จะตกอยู่ใต้บังคับแห่งข้อความที่ว่า "ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ" ก็ต้องถือว่ามีผลเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนทันทีแม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติ

และในคดีนี้ศาลได้วินิจฉัยต่อไปด้วยว่ามาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ย่อมมีผลบังคับทันทีเช่นกัน เพียงแต่ในคดีนี้ศาลได้วินิจฉัยว่าการถมคลองแม้จะมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ยังไม่ถือว่ากระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือชุมชนอย่างรุนแรง

ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาที่ 3/2552 ในคดีบ่อขยะที่ขอนแก่นเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ โดยได้ชี้ไว้ว่าโดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มีเจตนารมณ์ให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบัญญัติอนุวัติการ

ดังนั้น การปรับใช้มาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมจึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยนัยนี้โครงการที่แม้ตามกฎหมายไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หากปรากฏว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อบุคคลหรือชุมชนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพชีวิต บุคคลหรือชุมชนมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสาม เพื่อให้มีการดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง

เห็นได้ชัดว่าความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดต่อพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎหมายย่อมมีผลผูกพันคณะกรรมการกฤษฎีกาในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าในการทำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการหยิบยกคำพิพากษา 2 ฉบับนี้ขึ้นมาถกเถียงกันแต่อย่างใด

หากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างคณะกรรมการกฤษฎีกามองข้ามคำพิพากษาสำคัญๆ ของศาลปกครองสูงสุด และไม่ติดตามแนวคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจะพึ่งพาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นที่ปรึกษาในเรื่องสำคัญๆ ได้อย่างไร



4. บทเรียนคดีมาบตาพุดสะท้อนอะไร?

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่หลงหูหลงตาคณะกรรมการกฤษฎีกา และกองเลขานุการไปครั้งนี้ หากจะมองในแง่ระบบข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีก็ยังอาจจะเข้าใจกันได้

แต่ถ้ามองในแง่หลักวิชาแล้วนับว่าน่าหวาดเสียวอย่างยิ่ง เพราะจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา พบว่าการให้ข้อคิดเห็นในกรณีดังกล่าวนี้ดำเนินไปอย่างปราศจากข้อท้วงติง หรือข้อถกเถียงที่พึงมีในทางหลักวิชาอย่างสำคัญ

ในวงวิชานิติศาสตร์ หลักการที่ว่าการตีความกฎหมายต้องตีความให้เป็นผลเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่ทั่วไป แต่การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีลักษณะเป็นการตีความให้รัฐธรรมนูญไร้ผลในกรณีนี้ นับว่าเป็นการตีความที่ส่งผลให้คณะกรรมการสูญเสียความน่าเชื่อถือทางวิชาการไปอย่างสำคัญ

นอกจากนี้ หลักวิชากฎหมายมหาชน และหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญยังมีหลักที่ถือเป็นกฎเหล็กข้อหนึ่งว่าการจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนั้น จะจำกัดจนกระทบถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้ หลักข้อนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่า "หลักธำรงรักษาสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพ" ตามรัฐธรรมนูญ หรือหลักรักษา "essential substance" ที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ เป็นหลักที่มีทั้งในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 และยังมีอยู่ในมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ 2550

ผลของหลักดังกล่าวก็คือ ในเมื่อออกกฎหมายมาจำกัดให้กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิยิ่งทำไม่ได้ และต้องคำนึงถึงการธำรงรักษาสาระสำคัญแห่งสิทธิไว้ก่อนเสมอ จะยอมให้ถูกจำกัดในสาระสำคัญไม่ได้

การปรับใช้กฎหมายกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิจะมีได้ก็เฉพาะในกรณีที่เป็นการคุ้มครองสิทธิที่มีคุณค่าสูงกว่าเท่านั้น การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ถึงกับทำให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญไร้ผลไปจึงนับว่าขัดต่อหลักสาระสำคัญแห่งสิทธิ นับได้ว่าขัดต่อหลักวิชาเป็นอย่างยิ่ง

คำถามที่ว่าหากรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิไว้ โดยยังไม่มีกฎหมายมากำหนดรายละเอียดดังนี้จะปรับใช้กฎหมายอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่มีหลักเป็นที่รู้เข้าใจกันในหมู่นักกฎหมายมหาชนอยู่แล้วว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย ย่อมมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น จึงต้องตีความรัฐธรรมนูญเสียด้วยทุกครั้งไป อย่างไรเรียกว่ากระทบรุนแรง อย่างไรเรียกว่าองค์กรอิสระ เมื่อยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ ก็เป็นกรณีต้องตีความและปรับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับสาระสำคัญแห่งสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญใช้ข้อความที่มีความหมายกว้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐก็ต้องใช้และตีความรัฐธรรมนูญไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ โดยคำนึงถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นๆ เป็นสำคัญ ไม่ใช่อ้างว่ายังไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดรายละเอียดจึงถือว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับ เพราะในกฎหมายอื่นๆ ที่ไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียด ผู้มีหน้าที่ใช้กฎหมายก็ต้องตีความกฎหมายเสมอ

เช่น หลักในมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า "การใช้สิทธิก็ดีการปฏิบัติหน้าที่ก็ดี ต้องกระทำโดยสุจริต" ก็ไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดแต่ก็ใช้บังคับได้มาร่วม 80 ปีแล้ว

คำว่า "ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" ในมาตรา 150 และคำว่า "ความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร" ในมาตรา 1337 ก็ล้วนแต่ไม่มีกฎหมายใดมากำหนดรายละเอียดทั้งสิ้น

ข้ออ้างของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ารัฐธรรมนูญเขียนไม่ชัดเจน จึงฟังไม่ขึ้น

แน่นอนว่าฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจเข้ามามีส่วนช่วยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนขึ้นได้ แต่การที่เราเรียกวิชานิติศาสตร์กัน และการที่หน่วยงานทั้งหลายต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์ประจำในตำแหน่งสำคัญ ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องรอให้ฝ่ายนิติบัญญัติมากำหนดรายละเอียดเอาเสียทุกเรื่องนั่นเอง

นอกจากนั้น การใช้กฎหมายที่ผิดพลาด หรือการตรากฎหมายที่ไม่ชอบ ย่อมต้องถูกตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และความสัมพันธ์เชิงเหตุผลที่ดำรงอยู่ในข้อเท็จจริงนั้นๆ และใช้มาตรฐานทางวิชาการนิติศาสตร์มาเป็นเกณฑ์

การที่กฎหมายมีผลใช้บังคับได้ และเป็นที่เชื่อถือของสาธารณชนได้ ก็ต่อเมื่อมีนักกฎหมายที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และใช้ความรู้และสติปัญญาของตนในการตีความและปรับใช้กฎหมายอย่างซื่อสัตย์ทั้งต่อกฎหมายและต่อคุณธรรม โดยระวังไม่ให้มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องด้วย แต่ถ้าขาดความรู้ หรือขาดความซื่อตรง หรือไปมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องด้วย การวินิจฉัยของตนก็ย่อมจะเสื่อมเสียความน่าเชื่อถือ และอาจเกิดผลร้ายแก่สังคมส่วนรวมเกินกว่าที่จะคาดหมายได้อีกด้วย

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีมาบตาพุดครั้งนี้ ในความเห็นของผู้เขียนเป็นกรณีที่เป็นผลมาจากความรู้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง ความตระหนักในคุณธรรมและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้มแข็ง ซึ่งส่งผลสะเทือนจนทำให้ประเทศไทยไม่เข้มแข็ง แต่ก็ดูเหมือนว่าแม้ปัญหาวิกฤตในบ้านเราจะเกิดจากความรู้ทางกฎหมายที่ไม่เข้มแข็งนี้จะดำเนินมาเป็นเวลานับสิบปี รัฐบาลก็ยังไม่มีโครงการจะแก้ไขสักที

ชวนให้สงสัยต่อไปว่า หรือว่าต้นเหตุของเมืองไทยไม่เข้มแข็งนั้นแท้จริงแล้วอยู่ที่รัฐบาล?


หน้า 6
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01301052&sectionid=0130&day=2009-10-30

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
news
http://net209.blogspot.com/ net9
http://parent-youth.blogspot.com/ parent-youth.net
http://holistic1951.blogspot.com/ holistic
http://parent-net.blogspot.com/ parent
http://netnine.blogspot.com/  science
http://newsacademic.blogspot.com/ newsacademic
http://pwdinth.blogspot.com/
http://senatelibrary.wordpress.com/about
http://gotoknow.org/blog/cemu/295924

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเสื่อมด้านจริยธรรมของกรรมการกฤษฎีกา?

วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:30:54 น.  มติชนออนไลน์ Share

ความเสื่อมด้านจริยธรรมของกรรมการกฤษฎีกา?
 

โดยสายสะพาย

 ช่วงนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากแวดวงวิชาการกฎหมายโดยเฉพาะการตีความการใช้มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จนปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดปัญหา 76 โครงงการมาบตาพุดที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐระงับการดำเนินการไว้เป็นการชั่วคราว


ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถึงกับระบุว่า ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎหมายย่อมมีผลผูกพันคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย  แต่ไม่ปรากฏว่า ในการทำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีการหยิบยกคำพิพากษา 2 ฉบับนี้ขึ้นมาถกเถียงกันแต่อย่างใด


นอกจากกรณีนี้แล้ว การแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาชุดใหม่ 108 คน ก็ถูกตั้งคำถามว่า มีการพิจารณาเรื่องจริยธรรมด้วยหรือไม่ เพราะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหม่ซึ่งส่วนใหญ่แต่งตั้งต่อเนื่องจากชุดเดิม(มี 113 คน)ปรากฏว่า มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตเลขาธิการ ก.พ.และนายศุภรัตน์ ควัฒนกุล  อดีตปลัดกระทรวงการคลังรวมอยู่ด้วย


บุคคลทั้งสองถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดกรณีการแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร 3 คนไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดระบุว่า  มีการกำหนดตัวบุคคลไว่ล่วงหน้าแล้วโดยคุณหญิงทิพาวดีถูกกล่าวหาว่า ประมาทเลินเล่อทำให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง


ขณะที่นายศุภรัตน์ถูกกล่าวหาว่า ทุจริตต่อหน้าที่ จึงมีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีความผิดอาญา


ต่อมา อ.ก.พ.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีมติปลดคุณหญิงทิพาวดีออ จากราชการ  ส่วนอ.ก.พ.กระทรวงการคลังมีมติไล่นายศุภรัตน์ออกจากราชการและยังถูกดำเนิน คดีอาญาด้วย


แม้บุคคลทั้งสองยื่นอุทธรณณ์คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม (ก.พ.ค.) แต่ ก.พ.ค. ทำได้เพียงพิจารณาระดับโทษ แต่ไม่สามารถพิจารณาฐานความผิดได้


ดังนั้น กรณีคุณหญิงทิพาวดี  ก.พ.ค.คงต้องยืนมติปลดออกจากราชการ


ขณะที่นายศุภรัตน์ ก.พ.ค.มีโอกาสพิจารณาลดโทษเหลือปลดออกจากราชการได้


ทางออกสุดท้ายคือ การยื่นฟ้อง ก.พ.ค.ต่อศาลปกครองสูงสุด


ประเด็นเรื่องนี้คือ ทำไมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงคัดเลือกบุคคลที่ถูกปลดออกและไล่ออกจากราชการเป็นกรรมกฤษฎีกา แม้ว่า ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 จะไม่มีบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติของกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไว้หรือแม้คดี จะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่ผลการปลดออกและไล่ออกยังมีผลอยู่จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา


การที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งบุคคลทั้งสองสะท้อนให้เห็นสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมกำลังเสื่อมทรามลงหรือไม่?

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1256381597&grpid=no&catid=02

--
http://logistics.dpim.go.th
http://thainews.prd.go.th
http://ncecon5.nida.ac.th


วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กมธ.ป.ป.ช.สผ.รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

 

 

 

 

กมธ.ป.ป.ช.สผ.รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

22 ต.ค. 52 -            รองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ กรณีอัยการสูงสุดทำงานล่าช้าในการพิจารณาคดี นายมานิตย์ สุธาพร

                นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์  รองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือร้องเรียนจากนายณัชพล โรจน์ถาวร ประธานเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) ในกรณีที่ทางกลุ่ม ส.ท.ช.ต้องการให้คณะกรรมาธิการ ป.ป.ช.ของสภาผู้แทนราษฎร ได้เร่งรัดคดีความที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดแก่นายมานิตย์ สุธาพร ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมบังคับคดี แก่อัยการสูงสุด แต่ปรากฏว่า อัยการสูงสุดทำงานล่าช้า ส่อเค้าว่าจะมีความไม่โปร่งใสในการดำเนินการ ทางกลุ่มจึงต้องการให้คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรได้เชิญอัยการสูงสุดมาสอบถามว่าเหตุใดจึงมีความล่าช้าในการพิจารณาเพื่อเป็นการเร่งรัดให้คดีมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะเหลือเวลาอีกไม่นานคคีความที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดก็จะหมดอายุความแล้ว

                ทางด้านรองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใดในการพิจารณา

 

 

 

 

 

 

 

เกรียงไกร  หอมจันทร์เทศ ข่าว / เรียบเรียง

 



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ขรก.ฝืนกฎ 9 ข้อ หมดสิทธิขึ้นเงินเดือน

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11547 มติชนรายวัน


ขรก.ฝืนกฎ 9 ข้อ หมดสิทธิขึ้นเงินเดือน


คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย



เมื่อ กลางเดือนตุลาคม 2552 มีการประกาศใช้กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ.2552 ในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 สาระสำคัญของกฎ ก.พ.ฉบับนี้ คือการเลื่อนขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำปีละ 2 ครั้งแต่ละครั้งห้ามเกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน

ขณะเดียวกันห้ามใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน

นอก จากนั้น การขึ้นเงินเดือน จะพิจารณาตามการปฏิบัติตนและหน้าที่ซึ่งข้าราชการซึ่งจะได้รับการพิจารณา เลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 9 ข้อดังต่อไปนี้

1.ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละ 60

2.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งมิใช่ความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

3.ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่า 2 เดือน

4.ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

5.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือนหรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย

6.ในครึ่งปีที่แล้วมาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 4 เดือน

7.ในครึ่งปีที่แล้วมา ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 4 เดือน

8.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลา หรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ผู้บังคับบัญชากำหนดเป็นหนังสือไว้ก่อนแล้ว โดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของหน่วยงาน

9.ใน ครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ โดยมีวันลาไม่เกิน 23 วัน (เฉพาะวันทำการ) แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (6) หรือ (7) และวันลาดังต่อไปนี้

(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบียเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตาม กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน
(ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกัน ไม่เกิน 60 วันทำการ
(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

หน้า 22



--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
chan
http://integration9.blogspot.com/ integration
http://sundara21.blogspot.com/      sandara
http://same111.blogspot.com/        culture
http://sea-canoe.blogspot.com/      seacanoe
www.pil.in.th

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

องค์กรสิทธิมนุษยชนร้อง "มาร์ค" ตรวจสอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าหวั่นมีการเอาเปรียบ-ค้ามนุษย์

องค์กรสิทธิมนุษยชนร้อง “มาร์ค” ตรวจสอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าหวั่นมีการเอาเปรียบ-ค้ามนุษย์

องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่ทำงานในประเทศ ไทย หวั่นแรงงานอาจถูกแสวงประโยชน์-ค้ามนุษย์-ถูกรัฐบาลพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอให้รัฐบาลผลักดันรัฐบาลทหารพม่าให้มีการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 52 ที่ผ่านมา องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนสามองค์กร ประกอบด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติชาวพม่ากว่า 2 ล้านคนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย
 
ในหนังสือร้องเรียนระบุว่า องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งว่า แรงงานอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นจากกระบวนการ ทุจริตเรียกเงิน หรือกระทั่งกระบวนการค้ามนุษย์ และอาจทำให้ครอบครัวแรงงานซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้ยื่นหนังสือถึงผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 และขอถือโอกาสเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานจาก ประเทศพม่าเพื่อให้นายรัฐมนตรีพิจารณา
 
โดยข้อเรียกร้องที่สำคัญคือ เสนอให้รัฐบาลไทยเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์ สัญชาติในประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญคือ ช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น
 
นายสาวิทย์ แก้วหวานเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า ดูเหมือนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติจะเป็นกระบวนการสองมาตรฐาน ในทางหนึ่งแรง งานข้ามชาติสามารถส่งข้อมูลส่วนบุคคลให้ศูนย์ของเอกชนเพื่อพิสูจน์สัญชาติ และจะสามารถได้รับหนังสือเดินทางและวีซ่า ซึ่งใช้เวลาดำเนินการประมาณหนึ่งเดือน หรือในอีกทางหนึ่ง แรงงานจะส่งข้อมูลให้สำนักจัดหางานแต่จะได้รับการตอบรับที่ช้ามาก กระบวนการ ของภาครัฐเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า (600-2,100 บาท) ทว่าหากดำเนินการผ่านนายหน้าอย่างไม่เป็นทางการ ค่าดำเนินการจะสูงกว่าของภาครัฐ โดยไม่มีการควบคุมและราคากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ (ขณะนี้ราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 7,500 บาท) นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐเองยังแนะนำให้นายจ้างใช้นายหน้าเอกชนในการดำเนินการดัง กล่าวอีกด้วย
 
กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มโดยเฉพาะไท ใหญ่รู้สึกหวาดกลัวที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลในการพิสูจน์สัญชาติ เนื่องจากมีข่าวลือว่าจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อครอบครัวของตนเองที่ยังอาศัย อยู่ในประเทศพม่า ทั้งยังมีข่าวลือว่ารัฐบาลทหารพม่าจะฉวยโอกาสนี้จับนัก เคลื่อนไหวทางการเมือง และมีข่าวว่ามีแรงงานข้ามชาติถูกจับกุมระหว่างการเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งยังมีนายหน้าบางส่วนที่รับเงินจากแรงงานข้ามชาติไป แต่ไม่ดำเนินการใดๆ ให้
 
นายสมชาย หอมลออ เลขาธิการมสพ. กล่าวเสริมว่า “มสพ. และองค์กรเครือข่ายจึงขอร้องเรียนให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเร่งตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาตินี้ นอกจากนี้ เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลได้เร่งผลักดันให้รัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้มีการ พิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ รวดเร็วกว่า และสามารถลดการแสวงหาประโยชน์โดยไม่สมควรจากนายหน้า รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยให้กับแรงงานข้ามชาติด้วย”
 
นายสมชาย กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “หากกระบวน การยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเช่นนี้ ก็ดูเหมือนว่าเป็นกระบวนการที่ไร้ประสิทธิภาพ เราเกรงว่าแรงงานข้ามชาติชาวพม่าจะกลายมาเป็นเหยื่อของการแสวงหาประโยชน์อีก ครั้ง ได้รับความเดือดร้อนโดยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และบางทีอาจกลายมาเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เนื่องจากพวกเขาต้องเดินทางไป ยังชายแดนพม่ากับบรรดานายหน้าที่ไม่ได้มีการควบคุมตรวจสอบจากทางราชการ”
 
สำหรับหนังสือร้องเรียนนายกรัฐมนตรีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
 

 
5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
 
เรื่อง การพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
สำเนาถึง 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
5. ประธานคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าว
6. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
7. ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา
8. ประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
9. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
ด้วยองค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน สามองค์กร ประกอบด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ศึกษาและติดตามปัญหาแรงงานข้ามชาติจำนวนประมาณ 2- 3 ล้านคน ซึ่งส่วนมากเป็นแรงงานจากประเทศพม่ามาโดยตลอดนั้น องค์กรทั้งสามขอสนับสนุนนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่มีมติผ่อนผันให้แรงงงานซึ่ง เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมายมีสิทธิอาศัยชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งวางแนวปฏิบัติในการอนุญาตจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นรายปี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เห็นชอบการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า
 
อย่างไรก็ดี องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 ที่เห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติหลบหนีเข้าเมืองที่ยังคงอยู่นอกระบบ และลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษมีระยะเวลาสองปี สิ้นสุดไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มติดังกล่าวมีผลให้แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าประมาณ 2 ล้านคนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จึงต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติอันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ กว่า 13 ขั้นตอน โดยมีกรมการจัดหางาน สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศของพม่าและของประเทศไทย ศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติประจำประเทศไทย ณ เมืองชายแดนสามแห่ง และศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติประจำประเทศพม่าเป็นหน่วยงานที่รับผิด ชอบ ทั้งนี้ แรงงงานข้ามชาติดังกล่าวมีเวลาถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ หากไม่ผ่านกระบวนการนี้ก็จะถูกผลักดันออกนอกประเทศ
 
องค์กรทั้งสามได้รับทราบข้อมูลจากคำ บอกเล่าของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า เกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติ และข้อมูลเกี่ยวกับบริการของหน่วยงานเอกชนบางแห่ง ซึ่งเป็นนายหน้าให้ความช่วยเหลือในการจัดส่งเอกสาร การนำแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติยังศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติตามอำเภอบริเวณ ชายแดนไทย-พม่า นำแรงงานข้ามพรมแดนเพื่อรับการพิสูจน์สัญชาติ และนำกลับเข้ามาประเทศไทยโดยได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวและใบอนุญาตทำงาน โดยคิดค่าบริการในอัตราที่หลากหลาย พอสรุปได้ว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่และองค์กรซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ จำนวนมาก ยังคงไม่ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงอัตราค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน อีกทั้งไม่ตระหนักถึงประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ ในครั้งนี้ นอกจากนี้ แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐบาล ทหารพม่า ยังรู้สึกไม่ไว้วางใจและไม่กล้าแสดงตนต่อรัฐบาลทหารพม่าเพื่อเข้ารับการ พิสูจน์สัญชาติ เนื่องจากหวาดกลัวว่าครอบครัวที่อยู่ในประเทศพม่าอาจถูกกลั่นแกล้งได้ หลังจากรัฐบาลทหารพม่าได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของชนกลุ่มน้อยดังกล่าว อนึ่ง แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าจำนวนมากไม่มีเอกสารแสดงตนที่ออกโดยรัฐบาลทหาร พม่า
 
องค์กรทั้งสามมีความห่วงใยเป็นอย่าง ยิ่งว่า แรงงานอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นจากกระบวนการ ทุจริตเรียกเงิน หรือกระทั่งกระบวนการค้ามนุษย์ และอาจทำให้ครอบครัวแรงงานซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้ยื่นหนังสือถึงผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 และขอถือโอกาสนี้กราบเรียนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรง งานจากประเทศพม่ามายังท่านเพื่อโปรดพิจารณา ดังนี้
 
1. รัฐบาลควรเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติใน ประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญคือ ช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น
 
2. กระทรวงแรงงานและกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการให้ความรู้แก่แรงงาน ข้ามชาติพม่าอย่างทั่วถึงโดยเร่งด่วน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าใจกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว การประชาสัมพันธ์ควรมีการวางแผนและประสานงานกับเจ้าหน้าที่พม่า และควรจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้มีภาษาท้องถิ่นต่างๆของกลุ่มชาติพันธุ์ใน พม่า และภาษาไทยสำหรับนายจ้าง
 
3. กระทรวงแรงงานย่อมตระหนักดีว่าแรงงานข้ามชาติเพิ่งเสียค่าขึ้นทะเบียนแรงงาน ประจำปี 2552-2553 โดยแรงงานต้องเสียค่าใช้จ่าย 6,000-7,000 บาทต่อคน และใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุลงในอีก 8 เดือนข้างหน้า ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 แทนที่จะหมดอายุในเวลาอีก 12 เดือน กระทรวงแรงงานและนายจ้าง ควรดำเนินมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติขณะดำเนินการ พิสูจน์สัญชาติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของแรงงานข้ามชาติที่อาจตกเป็นแรงงานทาส เพื่อใช้หนี้ที่เกิดขึ้น
 
4. หากจำเป็นต้องใช้นายหน้าในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ นายหน้าควรดำเนินการโดยไม่แสวงกำไรเกินควร และได้รับการตรวจสอบควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล เนื่องจากมีความเป็นไปได้ สูงที่จะเกิดการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบกับแรงงานข้ามชาติ   ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีการกำกับดูแลนายหน้า แรงงานที่ใช้บริการนายหน้าเพื่อเดินทางไปเมืองชายแดนที่ห่างไกล ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเหยื่อการลักลอบขนคนเข้าเมือง หรือกระบวนการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี ทั้งนี้ รัฐบาลมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในทุกวิถีทางที่จะกระทำได้
 
5.  รัฐบาลควรให้ความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน และสหภาพแรงงานที่ทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ ในเรื่องกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และ/หรือ จัดให้หน่วยงานดังกล่าวเข้าเยี่ยมชมศูนย์การพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นกระจายข้อมูลต่อไปยังแรงงานข้ามชาติ
 
6. รัฐบาลได้กำหนดระยะเวลาที่แรงงานข้ามชาติจะต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้ แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นกำหนดระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และก่อให้เกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรงในหมู่แรงงานข้ามชาติว่า อาจถูกผลักดันออกนอกประเทศก่อนกระบวน การพิสูจน์สัญชาติจะแล้วเสร็จสำหรับทุกคน รัฐบาลควรลดความหวาดวิตกกังวลของแรงงานข้ามชาติ และควรกำหนดกรอบระยะเวลาใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
 
7. เนื่องจากการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าเกือบ 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้แล้วเสร็จนั้น ย่อมต้องใช้เวลา รัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้รับ สิทธิต่างๆ เท่าเทียมกับผู้ที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว
 
องค์กรทั้งสามหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะกรุณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำปัญหาและข้อเสนอแนะข้างต้นไป พิจารณา ทั้งนี้เพื่อประกันให้เกิดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่โปร่งใส ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสถานะของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองสิทธิแรงงานอย่างเสมอภาคให้เกิดขึ้น จริงต่อไปในอนาคตตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีใน อนุสัญญาฉบับต่างๆ
 
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
 
สาวิทย์ แก้วหวาน
(เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์)
 
โคทม อารียา
(ประธาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา)
 
วิไลวรรณ แซ่เตีย
(ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย)
http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26169

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm