อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สุดอลเวงย้ายเบอร์ข้ามค่าย ลุ้นอีก 3 เดือนหรือรอปี-ปีครึ่ง


วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4127  ประชาชาติธุรกิจ


สุดอลเวงย้ายเบอร์ข้ามค่าย ลุ้นอีก 3 เดือนหรือรอปี-ปีครึ่ง




หลังจากรอคอยกันมานาน ล่าสุดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ออกมาประกาศเสียงดังฟังชัดว่า จะประกาศใช้หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมผลักดันให้ค่ายมือถือเปิดบริการดังกล่าวภายในปีนี้ให้จงได้ โดยหลังอนุมัติร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้วจึงเหลือเพียงรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น

หลังประกาศมีผลบังคับใช้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจัดให้มีบริการคงสิทธิเลขหมายภายในเวลา 30 วัน โดยต้องส่งรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติในการโอนย้ายเลขหมายให้ กทช.เห็นชอบ รวมทั้งต้องลงทุนร่วมกันจัดตั้งศูนย์ให้บริการสารสนเทศ (clearing house) เก็บข้อมูลเลขหมายในลักษณะของ consortium

ส่วนขั้นตอนการโอนย้ายเลขหมาย ลูกค้าต้องยื่นคำขอต่อผู้ให้บริการรายใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้บริการ จากนั้นทั้งผู้ให้บริการรายเดิมและรายใหม่จะร่วมกันตรวจสอบข้อมูลผู้ขอโอนย้ายเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของเลขหมาย แล้วจึงดำเนินการโอนย้ายเลขหมายไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ยื่นขอ

ส่วนค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายจะเป็นอัตราที่ กทช.กำหนดในภายหลัง

กรณีที่เก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าแล้ว แต่ไม่สามารถโอนย้ายหรือลูกค้าขอยกเลิกการโอนย้ายต้องคืนเงินแก่ลูกค้า

ส่วนรายละเอียดทางเทคนิคเกี่ยวกับ รูปแบบการโอนย้ายเลขหมายจะใช้วิธี all call query กับผู้ให้บริการมีผู้ใช้ต่ำกว่า 1 แสนราย หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่อาจใช้วิธี onward routing ในการเชื่อมต่อได้ โดยผู้ให้บริการรายเดิมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้ในราคาอิงต้นทุน

อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการรายใหม่มีสิทธิปฏิเสธคำขอโอนย้ายเลขหมายจากลูกค้าได้เช่นกัน ในกรณีที่เป็นเลขหมายที่ได้มาโดยมิชอบหรือเพื่อประโยชน์

ในการรักษาความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเป็นเลขหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีโดยต้องชี้แจงเหตุผลของการปฏิเสธเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลูกค้าทราบโดยเร็ว

สำหรับค่าธรรมเนียมเลขหมายที่ผู้ให้บริการต้องจ่ายให้ กทช. กรณีที่ผู้ให้บริการได้ชำระค่าธรรมเนียมไปแล้ว ต่อมามีเลขหมายย้ายออก ผู้ให้บริการรายเดิมขอรับคืนเงินค่าธรรมเนียมที่ย้ายออกได้ในเดือนถัดไป ขณะที่ผู้ให้บริการรายใหม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายแก่ กทช.ในเดือนถัดไปเช่นกัน

นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กทช.กล่าวว่า หลังจากประกาศมีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ประกอบการต้องจัดการให้มี clearing house ภายในระยะเวลา 30 วัน แต่หากดำเนินการไม่ทันตามกำหนดก็ต้องชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงว่า เกิดจากอะไร เพื่อหาทางออกที่จะทำให้ประชาชน ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการประกาศใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว

ด้าน นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ระยะเวลาดำเนินการภายใน 3 เดือนหลังประกาศมีผลบังคับใช้คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน โดยเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟจะร่วมกันทำหนังสือชี้แจงไปยัง กทช. เพราะมีขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่ต้องใช้เวลามาก ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งเคลียริ่งเฮาส์ หรือการอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้ระบบของผู้ให้บริการแต่ละราย ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดให้บริการภายในปีนี้ ส่วนที่จะมีการนำวิธีการที่เรียกว่า onward routing เพื่อเปิดให้บริการไปก่อนนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อจะทำ all call query อยู่แล้ว การทำระบบ onward routing จึงเท่ากับลงทุนซ้ำซ้อน

ฟาก นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเกชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการ mobile number portability เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้เวลาจากประสบการณ์ที่เคยทำงานด้านนี้มาก่อนในประเทศอื่นๆ ต้องใช้เวลา 1 ปีหรือ 1 ปีครึ่ง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้เสร็จภายใน 3 เดือนตามประกาศ กทช.

เช่น ต้องสรุปและอนุมัติกระบวนการทำงาน ต้องออก RFQ ให้ซัพพลายเออร์ที่สนใจเสนอราคาค่าติดตั้งเคลียริ่งเฮาส์เข้ามา จากนั้นก็ต้องประเมินและตัดสินใจว่าจะเลือก เจ้าไหน เมื่อเลือกได้แล้ว โอเปอเรเตอร์ยังต้องร่วมกันจัดตั้งบริษัทเพื่อทำเคลียริ่งเฮาส์ โดยแต่ละรายต้องซื้อและติดตั้งระบบด้าตาเบสของตนเองเพื่อคัดลอก ข้อมูลจาก เคลียริ่งเฮาส์

นอกจากนี้ยังต้องอัพเกรดเน็ตเวิร์กเพื่อรองรับการโอนเลขหมายข้ามระบบ ซึ่งขนาดและลักษณะงานอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานะของเน็ตเวิร์กของแต่ละราย ทั้งต้องมีการปรับระบบดูแลลูกค้าเพื่อทำให้การโอนเลขหมายข้ามระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

"ผู้ให้บริการรายเล็กที่ไม่ลงเงินทำเคลียริ่งเฮาส์ ถ้าจะเข้ามาใช้ก็ต้องตกลงราคาก่อนว่า ค่าโอนผ่านเครือข่ายของคนอื่นจะเป็นเท่าไร จะมาส่งผ่านกันเฉยๆ ไม่ได้ เพราะพวกที่ไม่ทำเคลียริ่งเฮาส์จะไม่มีข้อมูลลูกค้าว่าโอนเบอร์ไปไหน จึงต้องเชื่อมกลับไปที่ต้นตอก่อน โอเปอเรเตอร์ต้นสังกัดที่เคยเป็นเจ้าของเบอร์จะต้องส่งผ่านไปยังเน็ตเวิร์กอื่นที่ลูกค้าย้ายไปอยู่ด้วย ซึ่งจะมี ค่าใช้จ่าย"


หน้า 28
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02com02300752&sectionid=0209&day=2009-07-30

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://www.familynetwork.or.th
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.webmaster.or.th
http://www.thailandshowtime.com/2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น